แนวทางการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวและห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านแบบบูรณาการ
คำสำคัญ:
บูรณาการ, วิถีน่าน, ห่วงโซ่อุปทาน, การพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมอุดมศึกษำ (สกอ.) ปีงบประมาณปี พ.ศ.2559 เป็นการดำเนินงานวิจัยภายใต้แผนงานหลักเรื่องแนวทำงการพัฒนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านเชิงบูรณาการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภพที่ทำกำรศึกษาเชื่อมโยงกับโครงการวิจัยเรื่อง สภำพการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน และโครงกำรวิจัยเรื่อง การศึกษาศักยภาพและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน ศึกษาความสามารถทำงการตลาดและห่วงโซ่อุปทานท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน และเพื่อเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาการตลาดและห่วงโซ่อุปทานท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งพัฒนาความรู้ทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมเพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมเพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินกิจกรรมทำงการตลาดร่วมกันในลักษณะห่วงโซ่อุปทานกำรท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามรูปแบบวิถีน่าน โดยกำรสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบกำรกำรท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน การสนทนากลุ่ม การเสวนากลุ่มย่อย (focus group) การอบรมให้ความรู้ กำรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติกำรให้แก่เกษตรกรที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการกำรท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน จำนวน 45 คน และการสัมภำษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย สำนักงานเกษตร จังหวัดน่าน 3 คน องค์กรบริหำรส่วนท้องถิ่น 5 คน กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดน่าน 5 คน และเกษตรกรที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน จำนวน 5 คน
ผลกำรวิจัยพบว่า พื้นที่ที่มีควำมโดดเด่นและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว อีกทั้งมีศักยภาพและมีความเหมาะสมสำหรับนำมากำหนดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมที่สำคัญในจังหวัดน่าน ประกอบด้วยพื้นที่เป้าหมาย 4 แห่ง ได้แก่ 1) หมู่บ้านมณีพฤกษ์ 2) ฟำร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ 3) ฟาร์มเฟมฝ้าย และ 4) หมู่บ้านดอนมูล เนื่องจากมีเกษตรกรที่มีศักยภาพในกำรดำเนินกิจกรรมด้านเกษตรกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริม แต่ยังขาดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและขาดทักษะด้านการจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ดังนั้น แนวทางการพัฒนาการจัดการด้านการตลาดการท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์เพื่อบูรณาการร่วมกันเป็นห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมตำมวิถีน่านคือการกำหนดตำแหน่งทำงการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่าน (Product Positioning) ทั้ง 4 แห่งเพื่อสร้างเป็นจุดขำยดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยว กำหนดรูปแบบและค่าใช้จ่าย (Price) ตามโปรแกรมท่องเที่ยวใน 3 รูปแบบคือ 1) การท่องเที่ยวแบบประหยัด 2) การท่องเที่ยวแบบปกติ 3) การท่องเที่ยวตามฤดูกาล นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Place) ผ่ำน 5 ช่องทำง ได้แก่ 1) Social Media 2) Web Site ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน 3) สายด่วนการท่องเที่ยวชมรมท่องเที่ยวจังหวัดน่าน 4) หออัตลักษณ์นครน่าน ศูนย์ประสานงานวิทยำลัยชุมชนน่าน และ 5) ช่องทาง Agency คือ Agoda ส่วนกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Promotion) ควรมุ่งเน้นรักษาภาพลักษณ์การจัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลสำคัญของจังหวัด บริการรถรับ-ส่ง บริการทัวร์จักรยานเพื่อเพิ่มประสบการณ์การเดินทางของนักท่องเที่ยว จัดแต่งมุมถ่ายรูป ณ จุด Check in ออกแบบกิจกรรมเสริมสำหรับงาน Event ออกแบบแหล่งท่องเที่ยวแนว service design สำหรับนักท่องเที่ยวที่เป็นหมู่คณะ และที่สำคัญคือใช้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งหมด
References
ราณี อิสิชัยกุล และ วรรณำ ศิลปอาชา (2558) การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวชุมชนในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน. โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ.
ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง และคณะ (2557) การศึกษำโซ่อุปทานและตัวแบบข้อมูลในอุตสาหกรรมกำรท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(85), 352- 369.
ศศิธร เจตานนท์ และ เบญจพร แย้มจ่าเมือง. (2556). กลยุทธ์การวางแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำหรับครอบครัว กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. โครงกำรวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
สำนักงานสถิติจังหวัดน่าน. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน 4 ปี (พ.ศ.2558 – 2561) : รายงานสถิตจังหวัดน่ำน. สำนักงานจังหวัดน่าน
March, R., and Wilkinson, I. (2009). Conceptual tools for evaluating tourism partnerships. Tourism Management 30, p. 455-462.
Paresh V. Joshi and Milind B. Bhujbal. (2012). Agro-Tourism A Specialized Rural Tourism: Innovative Product of Rural Market. International Journal of Business and Management Tomorrow.pg 1-12.
Piboonrungroj, P. and Disney, S.M. (2009). Tourism Supply Chains: A Conceptual Framework, Exploring Tourism III: Issue in PhD Research. In: Proceeding of the PhD Networking Conference, July 2009. Christel De Haan Tourism and Travel Research Institute.
Tapper, R. and Font, X. (2004).Tourism supply chains. Report of a desk research project for the travel foundation. p. 23.Leeds Metropolitan University
Zhang, Y. and Murphy, P. (2009). Supply-chain considerations in marketing underdeveloped regional destinations: A case study of Chinese to Goldfields region of Victoria. Tourism Management, 30(2), p. 278-287
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว