การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การจัดการเชิงกลยุทธ์, การวางแผนทรัพยากรบุคคล, ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน 3) เพื่อการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 628 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้จัดการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ย (Mean) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร (Correlation Analysis) การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis : MRA)
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนมีสามองค์ประกอบหลักคือการบริหารเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 4.41 การวางแผนทรัพยากรบุคคลการวางแผนทรัพยากรบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.55 และประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 4.28 มีองค์ประกอบย่อยที่มีระดับการดำเนินการในระดับมากทุกด้าน ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสามด้านพบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 แนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน การจัดการเชิงกลยุทธ์และการวางแผนทรัพยากรบุคคล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนไปในทิศทางเดียวกัน และความคิดเห็นของ ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการ จัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่ ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนเห็นด้วยและเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียนเอกชน
References
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก, วิทยานิพนธ์.
จันทนา ครบแคล้ว. (2555).การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี, วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 4(1), 67-77, (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร).
โชติ แย้มแสง. (2557, เม.ย.-ส.ค.) กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัยในจังหวัดปทุมธานี, สุทธิปริทัศน์ 28(86), 152-172.
ดวงสมร กลิ่นเจริญ. (2545). ประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาพฤติกรรมการบริหารงานบรรยากาศโรงเรียน ความคิดสร้างสรรค์ ความพึงพอใจการทางาน, (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
ประเวศน์มหารัตน์สกุล. (2551). การพัฒนาองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : พิมพ์ตะวัน.
ประเวศน์มหารัตน์สกุล. (2551). การจัดการทรัพยากรมนุษย์มุ่งสู่อนาคต. กรุงเทพฯ : พิมพ์ตะวัน.
สุคนธ์ มณีรัตน์. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์กับรูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม, (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร).
Erwee, Ronel (2007) Strategic international human resource management. In: Global business
environments and strategies: managing for global competitive advantage, 3rd ed. Oxford University Press Southern Africa, Cape Town, South Africa, pp. 173-201.
Konont&Bergoc, (2010). Educational organization of private schools means to maintain quality teachers affects most schools receive. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Sergiovanni, (1980). Education Governance and Ministration. New Jersy : Prentice-Hall, Inc.
Smith, D. &Tomlinson, S., (1990). Taxonomy of educational objectives : The classification of educational goals. New York: David McKay Co.
Wheelen, Thomas L. & J. David Hunger. (2008). Strategic Management and Business Policy. 11th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว