ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ด้านงานแม่บ้านของโรงแรม ระดับ 4-5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มานะศิลป์ ศรทนงค์ โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, ผู้ใช้บัณฑิต, โรงแรมระดับ 4-5 ดาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิต สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ด้านงานแม่บ้านของโรงแรมระดับ 4-5 ดาว
ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการแผนกแม่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 200 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างได้ 170 คน ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ที่ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานผู้จัดการแผนกแม่บ้านของสถานประกอบการด้านการโรงแรม ข้อมูลระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิต สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ด้านงานแม่บ้านของโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติแบบเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคาดหวังในภาพรวมทั้ง 6 ด้านประกอบด้วย ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้เชิงทฤษฏี ด้านความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้ภาษา ด้านทัศนคติที่มีต่องานโรงแรม ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความเหมาะสมในระดับมาก (2) ระดับความพึงพอใจในภาพรวมทั้ง 6 ด้านประกอบด้วย ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้เชิงทฤษฏี ด้านความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้ภาษา ด้านทัศนคติที่มีต่องานโรงแรม ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความเหมาะสมในระดับมาก (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ มหาวิทยาลัยควรให้การเสริมทักษะแก่บัณฑิตในด้านบุคลิกภาพ ความรู้ในเชิงทฤษฎี ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน และด้านภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งการเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกงาน ทำงานนอกเวลาอยู่เป็นประจำเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว. 2560. สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:https://tourism.go.th/index.php? mod=Web Tourism&file= content &cID=276. (สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2561 ).

กิติภูมิ นิลจันทร์. แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการโรงแรมด้านงานบริการส่วนหน้า. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2555.

ชนะ กสิภาร์.คุณวุฒิวิชาชีพไทย/มาตรฐานอาชีพ. กรุงเทพฯ. ม.ป.ท. 2546.

ธีรวัตน์ อิ่มประคองศิลป์. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานตามทัศนะผู้บริหารระดับกลางของสถานประกอบการด้านโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2550.

ปนิดา เนื่องพะนอม. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต คณะวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ตามทัศนะของผู้ประกอบการในจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัด สิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี 2549.

ปรีชา แดงโรจน์. การบริหารจัดการและปฏิบัติงานโรงแรม ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ 2549.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ใน เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ : การพัฒนารายละเอียดของหลักสูตรและรายวิชาให้มีคุณภาพ” วันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม (หน้า 10-11 ) กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2552.

สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2555.

อรทัย ชุ่มเย็น. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานแม่บ้านโรงแรม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตสีลม-สาทร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร 2553.

อัญชลี ดุสิตสุทธิรัตน์. การศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้บริหารของโรงแรมต่อผู้สาเร็จการศึกษา สาขาวิชาการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2552.

Chi, C.G.-Q. & Qu, H. (2008). Examining the structural relationships of destination image, tourist satisfaction and destination loyalty: An integrated approach. Tourism Management,29: 624-636.

Dimitriades, Z.S. (2006). Customer satisfaction, loyalty and commitment in service organizations – Some evidence from Greece. Management Research News, 29(12): 782-800.

Faullant, R., Matzler, K. & Füller, J. (2008). The impact of satisfaction and image on loyalty: the case of Alpine ski resorts. Managing Service Quality, 18(2): 163-178.

Gundersen, M. G., Heide, M. & Olsson, U. H. (1996). Hotel Guest satisfaction among Business Travellers: What Are the Important Factors. The Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 37(2): 72-81.

Kandampully, J. & Suhartanto, D. (2000). Customer loyalty in the hotel industry: the role of customer satisfaction and image. International Journal of Contemporary Hospitality Management,12(6): 346-351.

Kingkan Pongsiri. 2012. Housekeeping, Human Resources: Competency Service Standard Management for Hotel Business in ASEAN. International Journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning, Vol. 2, No. 5. Pp 343-347.

Soderlund, M. (1998). Customer satisfaction and its consequences on customer behaviour revisited: The impact of different levels of satisfaction on word-of-mouth, feedback to the supplier and loyalty. International Journal of Service Industry Management,9 (2): 169-188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-23