การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
บทคัดย่อ
การศึกษา เรื่อง การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 จำนวน 328 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970 : 608) โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามสถานภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (check list) มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.8839 เก็บรวบรวมข้อมูลแบบเป็นไปตามโอกาสทางสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้สถิติในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)
ผลการศึกษา พบว่า
การใช้หลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับน้อย (r = 0.210) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านหลักความคุ้มค่า ( X6 ) โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.210) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านหลักนิติธรรม (X1)(r = 0.098) ด้านหลักคุณธรรม (X2 )(r = 0.101) ด้านหลักความมีส่วนร่วม (X4)(r = 0.092) และด้านหลักความรับผิดชอบ ( X5 )(r = 0.080) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับน้อยมาก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกด้าน ส่วนด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงลบและไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มี 1 ด้าน คือ ด้านหลักความโปร่งใส ( X3 ) (r = -0.017)
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนกับการใช้หลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์ทางบวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอยู่ในระดับน้อย มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน ( Y1) (r = 0.227) และด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพและธำรงรักษาบุคลากร ( Y2 ) (r = 0.147) ส่วนด้านอื่นๆ มีความสัมพันธ์กันในระดับน้อย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์. (2541). “ธรรมรัฐภาคการเมือง, บทบาทภาคีเมือง”. (สารวุฒิสภา2541),หน้า 18.
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงานการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี.(2542). เอกสารประกอบการประกอบการประชุมประจำปีระหว่างส่วนข้าราชการกับ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
ดุจดาว จิตใส. (2554). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. (2552). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. [ออนไลน์]. (2560). ข้อมูลการบริหาร. เข้าถึงจาก http://www.pathum1.go.th/ วันที่ค้น 8 มิถุนายน 2560
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา:ระเบียบวาระ แห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2545). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชนฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549), กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
อรทัย แสงทอง. (2551). “หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครกรณีศึกษาสถานศึกษาในเขตตลิ่งชัน”. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2541). “สังคมเสถียรภาพและกลไกประชารัฐที่ดี”. รายงานทีดีอาร์ไอ, ฉบับที่ 20 (มกราคม 2541).
อานันท์ ปันยารชุน. (2542). “ธรรมาภิบาลในการบริหารวิทายาลัย”. สัมมนาวิชาการประจำปี 2542 ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ, (คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัดสาเนา, 2542), หน้า 7.
อาภัสสรี ไชยคุณนา. (2542). การบริหารงานบุคคล. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
อัจฉรา โยมสินธุ์. (2543). บริษัทภิบาลกลยุทธ์ธุรกิจแบบยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, ปีที่ 21, (2543). หน้า 34 - 35.
อุทัย หิรัญโต. (2543). หลักการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร.
อุษณีย์ จิตตะปาโลและนุตประวีณ์ เลิศกาญจนวัติ. (2548). การบริหารงานบุคคลระดับประกาศนียบัติรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
อำนวย แสงสว่าง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทธิ์.
Krejcie, Robert B; & Morgan, Daryle W. (1970, Autumn). “Determining Sample Size For Research Activity,” in Journal of Education and Psychological Meaurement. Vol. 30 (No.3): P. 608.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว