ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อประกันภัยการเดินทางต่างประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ชัญญา รอดผดุง และ วิษณุ อรรถวานิช Faculty of Economics, Kasetsart University

คำสำคัญ:

การซื้อ , ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ , นักท่องเที่ยวชาวไทย , ส่วนประสมการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อประกันภัยเดินทางต่างประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างวัยแรงงานอายุ 25-59 ปีที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 393 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่เคยทำประกันภัยการเดินทาง (221 คน) และกลุ่มที่ 2 คือผู้ที่ไม่เคยทำประกันภัยการเดินทาง (172 คน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ แบบจำลองโพบิตจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อประกันภัยเดินทางต่างประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย ได้แก่ ระดับการศึกษาโดยเฉพาะกลุ่มคนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนครั้งในการเดินทางไปต่างประเทศใน 1 ปีที่ผ่านมา ช่วงเดือนที่เดินทางไปต่างประเทศโดยเฉพาะในเดือนมกราคมและมีนาคม การรับรู้การมีประกันภัยการเดินทาง และตัวแปรปัจจัยการตลาด 7 Ps โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลในเชิงบวก นั่นคือทำให้โอกาสการซื้อประกันภัยการเดินทางเพิ่มขึ้นหากปัจจัยดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันจากการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า มีปัจจัยที่มีอิทธิพลในเชิงลบต่อการซื้อประกันภัยการเดินทาง ได้แก่ ปัจจัยการตลาด 7 Ps ด้านการส่งเสริมการตลาด ซึ่งทำให้โอกาสในการซื้อประกันภัยการเดินทางลดลง

References

กมลภัทร นิยมนา. (2554). ปัจจัยในการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กรมการท่องเที่ยว. (2558). ผลิตภัณฑ์มวลรวมด้านการท่องเที่ยวและเดินทางปี พ.ศ. 2557-2558. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2560 สํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11588.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แผนปฏิบัติการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2562,จาก https://www.tourismthailand.org/ fileadmin/downloads/pdf/แผนปฏิบัติการณ์ของ-ททท-ปี2562-ฉบับสมบูรณ์.pdf.

ชุติมา ศรีบุรี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการประกันการเดินทางของบริษัทเอช ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซี อินชัวร์รัน จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2558). จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2554-2558. กรุงเทพฯ: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดไทยเที่ยวนอกปี 2562. กระแสทรรศน์, 2979.

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2562. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2562, จาก http://www. Thailandtouris mcouncil.org/wp-content/uploads/2019/06/newsletter-q2-2562-final-2.pdf.

สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ). (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=497&filename=index.html.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประภัย. (2561). การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.oic.or.th/th/education/insurance/ accident/travel.html.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประภัย. (2561). ข้อมูลสถิติ. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.oic.or.th/th/industry/statistic.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ข้อมูลประชากรวัยแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 25-59 ปี ที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย. (2559). จำนวนกรมธรรม์ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Insurance Council of Australia. (2016). Insurance of Australia Travel Insurance. Final Report of Insurance Council of Australia. April 2016.

Shao-Ping Wang. (2019). Purchasing Factors for Travel Insurance by Asian Consumers. International Journal of Human Resource Studies, 9(1).

Visa Global Travel Intentions Study. (2018). The Global Competitiveness Report 2018. Visa Global Travel Intentions Study.

World Economic Forum. (2017). The Global Competitiveness Report 2016–2017. World Economic Forum.

World Travel and Tourism Council. (2016). Gross Domestic Product in 2016. World Travel and Tourism Council.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23