การสร้างภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พศิน ยอดหงษ์, กัญญามน กาญจนาทวีกูล Government Officer

คำสำคัญ:

แนวทาง, สร้างภาพลักษณ์, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สภาพลักษณะการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคม (2) ลักษณะการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานและประชาชน และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. (3) เพื่อเสนอการสร้างภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. ประชากร ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้วิจัยได้เลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารฯ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้อำนวยการฝ่ายฯ จำนวน 7 คน 2) พนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 38 คน และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้างปลายเปิดแก่ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวนทั้งสิ้น 110 คน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. P : การกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล6 และ ISO 26000 O : กฟผ. ดำเนินงานบริหารองค์กร ทั้งงานด้านกฎหมาย งานบัญชี งานกิจการ ซึ่งจะทำงานอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า L : กฟผ. มีภารกิจหลัก การพัฒนาโครงการการผลิตไฟฟ้า และการส่งมอบงานที่มีคุณค่าส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานสากล และC : กฟผ. มีระบบการควบคุมภายในโดยใช้ระเบียบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ว่าด้วยมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 (2) วิธีการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. P : มีนโยบายภาครัฐส่งต่อคณะกรรมการบริหารและการจัดการภาพลักษณ์เพื่อพิจารณากำหนดวิสัยทัศน์นโยบายภาพลักษณ์ของ กฟผ. D : ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ผ่านฝ่ายกิจการสังคมและฝ่ายชุมชนสัมพันธ์โครงการ C : คณะกรรมการบริหารและการจัดการ ภาพลักษณ์ มีการประเมินผลเชิงบวกจากหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และผลสำรวจประสบการณ์ A : ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เว็บไซต์ กฟผ. Social Media (3) ลักษณะภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อ
สังคม กิจกรรมเพื่อสังคม สร้างความสัมพันธ์เชิงรุกแบบมีส่วนร่วม C : ภาพลักษณ์บุคลากร คือ เนื้อหาของเรื่องที่เข้าอบรม Hard Skill คือ การอบรม พวกระบบต่างๆ ที่ต้องใช้หน้างาน ส่วน Soft Skill คือ การอบรมเรื่อง Brander การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี A : การจัดทำรายงานเผยแพร่ ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสื่อถึงภาพลักษณ์ที่ดี (4) พนักงานฯและประชาชนมีการรับรู้ และมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของ กฟผ. โดยรับรู้ผ่านสื่อ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เว็บไซต์ กฟผ. Social Media (5) การสร้างภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม นำแนวคิด “ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” การใช้สีประจำองค์กร คือสีเหลือง และการออกแบบตราสัญลักษณ์ให้มีความทันสมัยสื่อสารผ่านสื่อวัสดุ สิ่งของ เครื่องแบบพนักงาน ดำเนินกิจกรรมผ่านโครงการแต่ละด้าน สำหรับข้อเสนอแนะการสร้างภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่นโยบายจูงใจพนักงานและประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. ควรมีความถูกต้อง รวดเร็วน่าสนใจน่าติดตาม เน้นรูปแบบการให้ความรู้ การโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเกิดภาพลักษณ์ที่ดีเพิ่มขึ้นกับ กฟผ.

 

References

กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์. 2555. “การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม: กลยุทธ์และโอกาสขององค์กรธุรกิจประเทศกำลังพัฒนาในสังคมพลวัต”. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 6, 2: 83-112.

กัญญามน อินหว่าง. ระเบียบวิธีวิจัย. (ออนไลน์ 2018). สืบค้นจาก: <https://www.westerndba.com/wp-content/uploads/2017/028711-02-60.pdf> 19 เดือนพฤษภาคม 2561.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2561. (ออนไลน์ 2561). 2561. สืบค้นจาก <https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content &view=featured&Itemid=323> 28 เดือนกุมภาพันธ์ 2561.

นภนนท์ หอมสุด และคณะ. (2559). ผลกระทบของภาพลักษณ์ต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ (12) : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ.

นภัทร คล้ายคลึง. (2557). “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และความพึงพอใจของลูกค้าที่มีผลต่อความจงรักภักดี ในสายการบินนกแอร์”. วารสารรมยสาร, 12, 1: 93-101.

นริศ สุคันธวรัตน์. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์สถานศึกษาอาชีวศึกษาตามกรอบแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (CSR for Corporate Sustainability). พิมพ์ครั้งที่ (2) กรุงเทพมหานคร : สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สถาบันคีนันแห่งเอเซีย. (2561). CSR Case Studies. (ออนไลน์). 2561. แหล่งที่มาจาก https://www.kenan-asia.org/th/resources/ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561.

Wanichyada Wajirum, Kanyamon Inwang (2561), Development of Business of Strategies of Community Enterprise Entrepreneurs: A Case Study on Herbal Product Business in Lower Central Region1, ABAC ODI Journal. Vision. Vol 5, No 1 2018, Page 117-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-17