ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ภาคราชการในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, สหกรณ์ออมทรัพย์, ภาคราชการบทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ภาคราชการโดยการประยุกต์ใช้วิธี Data Envelopment Analysis (DEA) ด้วยตัวแบบ BCC-O ทำการศึกษา จำนวน 3 ปี คือ พ.ศ. 2550, 2555 และ 2559 กำหนดตัวแปรปัจจัยการผลิต 3 ตัวแปร ได้แก่ เงินรับฝากจากสมาชิก ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และ ทุนของสหกรณ์ และตัวแปรปัจจัยผลผลิต จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ สินทรัพย์และรายได้ทั้งสิ้น ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยทั้ง 3 ปี อยู่ในระดับสูง คือ มีคะแนนประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 0.89, 0.85 และ 0.82 สำหรับปี พ.ศ. 2550, 2555 และ 2559 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จำนวนสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 9.50, 7.68 และ 9.96 สำหรับปี พ.ศ. 2550, 2555 และ 2559 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ ในกลุ่มสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด พบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ครูและตำรวจมีสัดส่วนมากสุดเมื่อเปรียบเทียบกับสหกรณ์ในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). สหกรณ์ที่ประสบปัญหาทุจริต/ข้อบกพร่อง ปี 2559. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2560, จาก http://office.cpd.go.th/itc/index.php/79-2017-04-11-04-36-20/194-2559
ศิริวรรณ อัศววงศ์เสถียร, กันตภณ ศรีชาติ และรัฐศาสตร์ หนูดำ. (2560). ความเสี่ยงของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์กับแนวทางปฏิรูปการกำกับดูแล. Focused and Quick, 114, 1-20.
Banker, R. D., Charnes, A., Cooper., W. W. (1984). Some models for estimating technical and scale inefficiencies in data envelopment analysis. Management Science, 30(9), 1078-1092.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว