คุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มีผลต่อการเสริมสร้างพลังชุมชน ของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศุภกานต์ มังกรสุรกาล, รัชตา มิตรสมหวัง, ชลัช จงสืบพันธ์, จิรวรรณ เทพประสิทธิ์, ธาราทิพย์ มูลศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, บุคลิกภาพผู้นำ, การเสริมสร้างพลังชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับการเสริมสร้างชุมชนของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 5) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำบุคลิกภาพที่มีผลต่อการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จาก 11 ตำบล จำนวนทั้งสิ้น 46,148 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 397 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามเชิงสำรวจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test) และการทดสอบค่าเอฟ (F - test) เมื่อพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7 รองลงมา เป็นเพศหญิง จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 44.3 อายุ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปมากที่สุด จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 40.8 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา/ปวช. มากที่สุด จำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 56.4 ประกอบอาชีพ ค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัว มากที่สุด จำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 38.3 มีรายได้อยู่ระหว่าง 15,001-30,000 บาทมากที่สุด จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2
  2. ระดับคุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (: 3.68, S.D. = 0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงสุด ได้แก่ ชอบออกสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมา มีความสุขุมรอบคอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากมีความอ่อนโยนผ่อนตาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พร้อมรับประสบการณ์ใหม่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับต่ำสุด ได้แก่ มีความวิตกกังวล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
  3. ระดับการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (: 4.00, S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงสุด ได้แก่ ด้านการสร้างพลังการรวมตัวกันของประชาชน รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างพลังการทำงานของประชาชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างพลังความคิดที่ถูกต้องให้กับประชาชน ตามลำดับ
  4. ผลการเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อาชีพของประชาชนที่ต่างกัน การเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังชุมชนไม่แตกต่างกัน
  5. ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรคุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชน พบว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่าง 0.130-0.370 โดยพบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันในอันดับสูงสุด ได้แก่ คุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำด้านการออกสังคม (X5) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเสริมสร้างพลังชุมชนด้านการสร้างพลังความคิดที่ถูกต้องให้กับประชาชน (Y1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (rxy = 0.370**).
  6. ผลการวิเคราะห์ คุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนในพื้นที่อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า คุณลักษณะผู้นำด้านชอบออกสังคม (X5) ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังชุมชนด้านการสร้างพลังการรวมตัวของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.256 ส่วนด้านมีความสุขุมรอบคอบ (X1) ด้านมีความอ่อนโยนผ่อนตาม (X2) ด้านมีความวิตกกังวล (X3) ด้านพร้อมรับประสบการณ์ใหม่ (X4) ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถพยาการณ์คุณลักษณะบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังชุมชนของประชาชนได้ร้อยละ 66 โดย เขียนสมการณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานประกอบไปด้วย ZY = 0.234 (X5) + - 0.019 (X3) + -0.024 (X4) + 0.028 (X1) + -0.093 (X2)

References

กัญญาวีล์ ปลอดภัย. (2559). ภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการจัดการภาครัฐ, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

ชรินทร์ มิ่งขวัญ. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

นันทพร ตรีคุณา. (2560). การเสริมพลังการทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิบูล ทีปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ภาวินี เพชรสว่าง. (2559). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ซีวีแอล การพิมพ์.

รัฐพล ล้อประกานต์สิทธิ์. (2559). คุณลักษณะภาวะผู้นำของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการจัดการภาครัฐ, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2552). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทงเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

ศรีพนา ศรีเชื้อ. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำของข้าราชการทหารอากาศสังกัดกรมสวัสดิการทหารอากาศ. ภาคนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเพื่อความมั่นคง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

Cronbach. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Taro Yamane. (1967). Statistics: An Introductory. (3rd. Ed.) New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18