โมเดลความสัมพันธ์ของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ความผูกพันของพนักงาน, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การทำวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันของพนักงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาความผูกพันของพนักงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกสู่ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และ 3) เพื่อศึกษาความผูกพันของพนักงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสู่ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานบริษัทผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี กรุงเทพมหานคร จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM)
ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานบริษัทผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี กรุงเทพมหานคร มีระดับของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันของพนักงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29, 4.13, 4.25 และ 4.22 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.579, 0.637, 0.585 และ 0.586 ตามลำดับ 2) ความผูกพันของพนักงานเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกสู่ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.226 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.490 และ 3) ความผูกพันของพนักงานเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสู่ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.231 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.506 ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพนักงานส่งผลให้เกิดความผูกพันของพนักงาน และในทำนองเดียวกันความพึงพอใจในการปฎิบัติงานก็ส่งผลให้กับความผูกพันเช่นกัน
References
จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2563). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับไทย. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจตลักษณา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2559). อิทธิพลของทุนจิตวิทยาเชิงบวกและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการโดยมีความผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านของพนักงานบริการโรงแมในจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บริษัทผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ. (2564). ข้อมูลจำนวนพนักงานบริษัท. กรุงเทพฯ: ฝ่ายบุคคล.
วัลยา ชูประดิษฐ์. (2560). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบรรยากาศองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและความผูกพันของพนักงานกับประสิทธิผลองค์การของธุรกิจบริการ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศีกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 31-47.
สุพรรษา ลอยสมุทร. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลของสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุมาลินี มุธรพจน์พงศ์. (2555). ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความสามารถฟื้นคืนได้: ตัวแปรทำนายผลงาน ความพีงพอใจในงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์กร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินโฟกราฟิกการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย. (2563). สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย. สืบค้น 5 เมษายน 2565, จาก https://infocenter.git.or.th/
อุทุมพร รุ่งเรือง. (2555). ความพึงพอใจในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมแปรรูปโครงสร้างเหล็ก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis. (5th ed.). New York: Prentice-Hall.
Kataria, A., Garg, P., & Rastogi, R. (2013). Organizational effectiveness as a function of employee engagement. South Asian Journal of Mangement, 20(4), 57-73.
Rahman, H. (2014). Training and job satisfaction for organizational effectiveness: A case study from the banking sector. Journal of Central European Business Review Research Papers, 3(1), 27-34.
Ramanus, S., & Boonyoo, T. (2020). The structural influence of factors affecting the success of Thailand transporation and logistics business. Academy of Strategic Management Journal, 19(6), 1-9.
Tepayakul, R. & Rinthaisong, I. (2018). Job satisfaction and employee engagement among human resources staff of thai private higher education institutions. The Journal of Behavioral Science, 13(2), 68-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว