ภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสอนภาษาจีน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปิยนาถ ปิยสาธิต

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำครู, ประสิทธิภาพการสอน, ครูสอนภาษาจีน, โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการสอนของครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและสถานศึกษาของเอกชน ประเทศไทย จำนวน 174 คน เครื่องมื่อที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรองและมืออาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการมุ่งมั่นวิจัยและพัฒนา 2) ระดับประสิทธิภาพการสอนของครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนและการใช้สื่อและเทคโนโลยี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรองและมืออาชีพ และด้านการมุ่งมั่นวิจัยและพัฒนา เป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมทำนายประสิทธิภาพการสอนของครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 47.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้       Z = .386 (ZX3) + .351 (ZX4)

 

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 51-66.

กิตติภพ ภวณัฐกุลธร, วิชัย วงษ์ใหญ่, จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, และ ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 113-125.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คูณ ศรีสุวงศ์, และกนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นําที่เน้นการเรียนรู้เป็นสําคัญที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 1-9.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ พิมพ์ศรี, สุนันทา วีรกุลเทวัญ, และอมรรัตน์ ภิญโญอนันพงษ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะในครูด้านภาวะผู้นำ. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 249-264.

นพมาศ ไทยภักดี, สุขุม พรมเมืองคุณ, และอุดมศิลป์ วงษ์วชิรโชติ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 90-99.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ประทีป ว่องวีระยุทธ์, อดิเรก นวลศรี, ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร, Hai Yang, และเกียรติศักดิ์ ฟงปรีชากุล. (2020). การศึกษาแนวคิดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผู้สอนวิชาภาษาจีน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(1), 304-314.

พระวิมลธรรมคณี (เลี่ยว ทองสาม), ธีระ รุญเจริญ, จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, และศรุดา ชัยสุวรรณ. (2558). องค์ประกอบการบริหารและการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในภาคใต้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 137-143.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิมพ์วลัญช์ นันทัยทวีกุล. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครู ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(4), 103-112.

พิศสุภา ปัจฉิมสวีสดิ์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำของหัวหน้าภาควิชาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ

ของภาควิชาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญศรี ศิริมงคล, ชิดชนก เชิงเชาว์, เกษตรชัย และหีม, และรุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(3), 456-462.

ภัทรา อุ่นพิกุล. (2550). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนภาษาจีน โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศรีประไพร พลเยี่ยม, และสมใจ ภูมิพันธุ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 48-55.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการสรางสรรคผลงานทางวิชาการของอาจารยในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารบรรณศาสตร์มศว, 14(1), 139-152.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2560). องค์ประกอบของภาวะผู้นำครูเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9, 204-216.

Centre for Educational Research. (2013). Leadership for 21st Century Learning, Educational Research and Innovation. OECD Publishing.

Confucius Institute Headquarters (Hanban). (2015). Test Syllabus for International Chinese Language Teacher Certificate. Beijing: People’s Education Press.

Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2016). Learning leadership: The five fundamentals of becoming an exemplary leader. John Wiley & Sons.

Nunnally, J., & Bernstein, I. (1994). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.

Reichard, R. J., Walker, D. O., Putter, S. E., Middleton, E., & Johnson, S. K. (2017). Believing is becoming: The role of leader developmental efficacy in leader self-development. Journal of Leadership & Organizational Studies, 24(2), 137-156.

Sherrill, J. A. (1999). Preparing teachers for leadership roles in the 21st century. Theory intopractice, 38(1), 56-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23