การบริหารแบบธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Yupin Yoopetch Master’s Student of Faculty of Educational and Liberal Arts, Suvarnabhumi Institute of Technology
  • Watana Chindavat Faculty of Educational and Liberal Arts, Suvarnabhumi Institute of Technology

คำสำคัญ:

การบริหารแบบธรรมาภิบาล , ผู้บริหารโรงเรียน, โรงเรียนเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม 3) เพื่อศึกษาการบริหารแบบธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครปฐม จำนวน 45 โรงเรียน จำนวน 322 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน และการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น  โดยใช้ขนาดสถานศึกษาเป็นชั้น  และสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ ตามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิรท ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.924  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน  

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ดังนี้ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักนิติธรรม และ ด้านหลักความรับผิดชอบ 2) การปฏิบัติหน้าที่ของครูอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้รับบริการ ด้านปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ  ด้านปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเอง ด้านปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคม และด้านปฏิบัติหน้าที่ต่อวิชาชีพ 3)  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.173 และมีความผันแปรของการบริหารแบบธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครู ร้อยละ 3 ( R2 = 0.033) ไม่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครูเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม  ( Beta = 0.117) ด้านหลักความโปร่งใส ( Beta = 0.110) ด้านหลักความคุ้มค่า (Beta = 0.094) ด้านหลักคุณธรรม (Beta = 0.067) ด้านหลักนิติธรรม (Beta = 0.064) และด้านหลักความรับผิดชอบ (Beta = 0.062)

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การปฏิรูประบบ ราชการและการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

จินตนา เย็นทรวง. (2561). จรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู อำเภอวิหารแดง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. [สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี].

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : เคแอนด์พีบุ๊ค.

ถวิลวดี บุรีกุลและคนอื่นๆ. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อการทำงานของ รัฐบาลและองค์กรอิสระ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) และสถาบันพระปกเกล้า.

ธีระ รุญเจริญ. (2558). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล. ที. เพรส จํากัด.

นภาพร นิ่มสุพรรณ. (2563). การปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของครูโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. [สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี].

รินทร์รดี พิทักษ์. (2559). พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา. [สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลา].

วิชัย โนนทิง. (2559). สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิ บาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาหนองคาย เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

วิรัตน์ รัตนมณี. (2559). การศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลกัธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). เอกสารประกอบการบรรยายการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน. กรุงเทพฯ : กองสลากสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม. (2564, 10 มกราคม). ข้อมูลทั่วไป. http://www.nptpeo.org/index.php/component/content/featured.html?Itemid=106.

สุนิสา วราเรืองฤทธิ์. (2561). การปฏิบัติตนตามมาตรฐานจรรยาบรรณครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

อรกัญญา สันติมิตร. (2561). การปฏิบัติตนของครูชาวต่างประเทศที่เป็นจริงและความคาดหวังของนักเรียนและครูโรงเรียนเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th edition). New York : Haper Collins Pubblishers.

Krejcie, Robert B; & Morgan, Daryle W. (1970, Autumn). Determining Sample Research Activity, Journal of Education and Psychological Meaurement.30(3): pp607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29