การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

ผู้แต่ง

  • ปฏิญญา บุญผ่อง มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุจิตรา โอสถอภิรักษ์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ทั้งหมด 351 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ได้ค่าระหว่าง .80-1.00 และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของครอนบาคมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

             ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.35, SD=.57) โดยมีด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.38, SD=.55) และด้านการบริการที่ดี มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดสุดคือ (ค่าเฉลี่ย =4.29, SD=.59)  2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า ครูที่มี   วุฒิการศึกษาปริญญาตรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกับครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนครูที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.70 มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารแตกต่างกับครูที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกอร จุลินทร. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2553). การอ้างอิงประชากรเพื่อใช้เครื่องแบบ. มาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(5), 22-25.

ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)

พัชนียา ราชวงษ์ และอำนวย ทองโปร่ง. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 48-49

ภัคจิรา ผาทอง. (2563). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

ภมรวรรณ แป้นทอง. (2561). สมรรภนะของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี).

ภาวิณี ไชยวังเย็น. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

ภาสกร หมื่นสา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ).

รัชนีกร แสงสว่างและพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 203-204.

สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับความสุขของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.

_________. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. ชลบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

สุทธาสินี คูเจริญทรัพย์. (2561). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 6(1, ม.ค. 2561), 54 – 73.

อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556) . สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01