การแยกแยะข่าวจริงข่าวปลอม และการเกิดรับรู้เชิงปฏิบัติการตามข่าวของกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ผศ.ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาจากประสบการณ์วิธีการแยกข่าวจริงและข่าวปลอมของนักศึกษาปริญญาตรี (18-24ปี) และศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิบัติ, ตรวจสอบ, วิเคราะห์, เพื่อหาข้อมูลสรุปข่าวจริงข่าวปลอม, และการแชร์ข่าวที่ได้รับ การศึกษาใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการออนไลน์ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ และการวิเคราะห์เส้นทางแบบมีตัวแปรแฝง ผลการวิจัย พบว่า (1) ช่องทางหลักที่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 483 คน ใช้ในการแชร์และกลุ่มตัวอย่างคิดว่าเป็นข่าวที่มีลักษณะจะเป็นข่าวปลอมเข้ามาหาตนเองมากที่สุด ได้แก่ Facebook, Facebook Messenger, Instragram, Line & Line กลุ่ม, Twitter และ Tiktok ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ และระดับชั้น ที่แตกต่างกันส่งผลให้ ประสบการณ์ในการสัมผัสรับรู้ข่าวที่มีต่อตัวบ่งชี้เป็นข่าวปลอมในภาพรวม แตกต่างกัน โดยที่ ประเด็นย่อย หัวข้อข่าวและคำที่ใช้ ข่าวประเภทที่แสดงความผิดปกติ และ รูปภาพประกอบ เพศหญิงจะมีค่าเฉลี่ยในการสัมผัสสูงกว่าเพศชาย ประเด็นย่อย และที่มาและแหล่งอ้างอิงของข่าว นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4 จะมีค่าเฉลี่ยในการสัมผัสสูงระดับชั้นปีที่ 1 ในขณะที่สาขาวิชาที่ศึกษาที่แตกต่างกันนั้นไม่ได้ส่งผลให้ประสบการณ์ในการสัมผัสฯ ที่แตกต่างกัน (3) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, ระดับชั้น, และสาขาที่ศึกษา การศึกษาไม่มีข้อมูลมากพอที่สามารถสรุปได้ว่า – มีผลต่อประสบการณ์ในการปฏิบัติ ตรวจสอบ วิเคราะห์ เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าเป็นข่าวปลอมหรือข่าวจริง แต่พบความแตกต่างในภาพรวม และ - ไม่สามารถสรุปการมีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติและการแชร์ข่าว และ (4) ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถสรุปผลได้ว่า - ประสบการณ์การสัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้เข้าสู่ข่าวปลอม และประสบการณ์ตรวจสอบหาข้อสรุป ข่าวปลอม ข่าวจริง ส่งผลต่อ พฤติกรรมการปฏิบัติ การแชร์ข่าว และ- ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับชั้น และสาขาที่ศึกษา ไม่ส่งผลให้พฤติกรรมการปฏิบัติ การแชร์ข่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anti-Fake News Center Thailand. (2022). Help stop the spread of fake news. Retrieved from www.antifakenewscenter.com

Baptista, et al. (2021). The Influence of Political Ideology on Fake News Belief: The Portuguese Case. Publications, 9(23), 1-17.

Chanthawichasut, P. (2019). Investigating fake news. www.isra.or.th/news-and-trainnee/756-fakenews.html

ETDA. (2019). ETDA reveals that in 2019. Retrived from www.etda.or.th/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019

Inthanon S. (2019). News Literacy. Pathum Thani: Walk on Cloud Company Limited.

Jongkitthaworn, K. (2021). The latest research reveals that Thai students are weak about dealing with fake news. Retrieved from www.beartai.com.

Loos E., & Nijenhuis J. (2020). Consuming Fake News: A Matter of Age? The Perception of Political Fake News Stories in Facebook Ads. Lecture Notes in Computer Science, vol 12209. Springer, Cham.

Reuter, C., Hartwig, K., Kirchner, J. & Schlegel, N. (2019). Fake News Perception in Germany: A Representative Study of People’s Attitudes and Approaches to Counteract Disinformation. 14th International Conference on Wirtschaftsinformatik, February 24-27, 2019, Siegen, Germany.

Suksomchit, M. (2021). Special article on “Fake News: ข่าวลวง, ข่าวปลอม”. Journal of Journalism, Thammasat University, 15(1), 9-39.

Thai Insurance. (2022). A collection of ways to spot fake news (Fake News) to be safe in the social era. www.thaiins.com/fake-news.

UIH Digital Infrastructure & Sloutions. (2021). What is Fake News. Retrived from www.uih.co.th/en/knowledge/fake-news.

UNESCO. (2018). Journalism, ‘Fake News’ & Disinformation Handbook for Journalism Education and Training. Paris; UNESCO.

Waewklaihong, K. (2020), “When the Media Plays Fake News Producers”, Media Ombudsman Accelerates Self-Regulatory, Bangkok: National Book Council.

Wannataworn, A. (2021). Ethnography and Social Media Algorithms Research. Humanities and Social Sciences Rev., 9(3), 1-14.

Webwise. (2022). Explained: What is False Information (Fake News)?. Retrieved from http://www.webwise.ie/what-is-fake-news/