ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ การตรวจสอบ วิเคราะห์ และแนวทางการดำเนินการที่ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลบิดเบือนในข่าว

Main Article Content

ดร.มานพ แสงจำนงค์

บทคัดย่อ

ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ การตรวจสอบ และวิเคราะห์ เพื่อหาข้อมูลบิดเบือนในข่าว และแนวทางการดำเนินการที่ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลบิดเบือนในข่าวของ
กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 482 คน พบว่า สามารถพยากรณ์การปฏิบัติ
การตรวจสอบ และวิเคราะห์ ข้อมูลบิดเบือนที่เกิดขึ้นในข่าว โดยผลการศึกษาสามารถอธิบายได้ถูกต้อง ร้อยละ 55.1 ด้วยการใช้ปัจจัย 1) ประสบการณ์สัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้ว่ามีข้อมูลบิดเบือนในข่าวและส่งผลต่อการดูจากความน่าเชื่อถือ สถานที่ เวลา บุคคลที่สาม ว่ามีความชัดเจนเพียงใด หากพบความไม่ชัดเจนและสันนิษฐานได้ว่าเป็นข้อมูลบิดเบือนโดยสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 40.4 2) ประสบการณ์สัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้ว่ามีข้อมูลบิดเบือนส่งผลต่อการวิเคราะห์จากลักษณะความผิดปกติอื่น ๆ ที่มีองค์ประกอบที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีข้อมูลที่บิดเบือนในข่าว สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 39.4 3) ประสบการณ์สัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้ว่ามีข้อมูลบิดเบือนในข่าวส่งผลต่อการตรวจสอบเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวอื่น ๆ สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 39.5 4) ประสบการณ์สัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้ว่ามีข้อมูลบิดเบือนในข่าวส่งผลต่อรูปภาพประกอบสามารถค้นหาได้จาก Tineye ว่า ภาพเป็นภาพเก่าที่เคยลงแล้วหรือไม่ถ้าใช้ก็เป็นข้อมูลบิดเบือน สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้องร้อยละ 38.6 5) ประสบการณ์สัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้ว่าข้อมูลบิดเบือนในข่าวส่งผลต่อค้นหาข่าวจาก Search Engine ด้วยอาจจะมีการแจ้งจากหน่วยงานที่ตรวจสอบว่าข่าว สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 32.6 และ 6) ประสบการณ์สัมผัสรับรู้ข่าวที่มีตัวบ่งชี้ว่ามีข้อมูลบิดเบือนในข่าวส่งผลต่อการสอบถามจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือของข้อมูลในข่าว เช่น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งประเทศไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย สามารถพยากรณ์ได้ถูกต้อง ร้อยละ 37.5 ผ่านตัว บ่งชี้สำคัญได้แก่ จุดประสงค์ในการเผยแพร่ การจัดวางภาพและกราฟฟิก ที่มาและแหล่งอ้างอิงของข่าว หัวข้อข่าวและคำที่ใช้ ลักษณะการเขียนข่าว การตรวจและเปรียบเทียบ และข่าวประเภทที่แสดงความผิดปกติ โดยทั้งหมดมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anti-Fake News Center Thailand. (2022). Help stop the spread of fake news. Retrieved from www.antifakenewscenter.com

Baptista, et al. (2021). The influence of political ideology on fake news belief: The portuguese case. Publications, 9(23), 1-17.

Chanthawichasut, P. (2019). Investigating fake news. Retrived from www.isra.or.th/news-and-trainnee/756-fakenews.html

ETDA. (2019). ETDA reveals that in 2019. Retrived from www.etda.or.th/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019

Inthanon S. (2019). News literacy. Pathum Thani: Walk on Cloud Company Limited.

Jongkitthaworn, K. (2021). The latest research reveals that Thai students are weak about dealing with fake news. Retrieved from www.beartai.com

Kunviroteluck, B., Issadisai, S., & Tubtiang, A. (2020). Factors reducing the spread of fake news on Social Media. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(2), 196-213.

Mullins, K. (2018). The real story with fake news. Post Library Faculty Publications, 11. Retrieved from https://digitalcommons.liu.edu/post_libfacpubs/11

Phanmool, J., & Propunprom, P. (2021). Situation of media access, fake news recognition and the impacts of media use of

the elderly in urban communities in a new normal. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(8),

-184.

Saengchumnong, A. (2022). Distinguish between real news and fake news and the emergence of operational awareness based on news among undergraduate students. TMF Journal, 1(1),

-79.

Suksomchit, M. (2021). Special article on “Fake News: ข่าวลวง, ข่าวปลอม”. Journal of Journalism, Thammasat University, 15(1), 9-39.

UIH Digital Infrastructure & Sloutions. (2021). What is fake news. Retrived from www.uih.co.th/en/knowledge/fake-news

UNESCO. (2018). Journalism, ‘Fake news’ & disinformation handbook for journalism education and training. Paris; UNESCO.

Waewklaihong, K. (2020). When the media plays the role of fake news producer, media ombudsman revives oversight. Bangkok: National Book Council.

Wannataworn, A. (2021). Ethnography and social media algorithms research. Humanities and Social Sciences Rev., 9(3), 1-14.

Webwise. (2022). Explained: What is false information (fake news)?. Retrieved from www.webwise.ie/what-is-fake-news/