มาตรฐานจริยธรรมที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ต้องการเป็น นักสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ตามบรรทัดฐานของสังคม

Main Article Content

พรรษา รอดอาตม์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิจัยมาตรฐานจริยธรรมสื่อมวลชนและบรรทัดฐานทางสังคมเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ในประเทศ Best Practices 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาจริยธรรมสื่อมวลชนและจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ผ่านมุมมองพัฒนาการแนวทางการกำกับดูแลจาก 3 ประเทศ คือ ประเทศไต้หวัน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีการวิจัย การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ คือ การจัดประชุมสัมมนากลุ่มย่อยใน 5 ภาค และข้อมูลทุติยภูมิ


ผลการศึกษาพบว่าจากแนวทางการกำกับควบคุมดูแลใน 3 ประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมต้องการให้มี 4 ลักษณะเช่นกัน คือ การกำกับดูแลตนเอง การกำกับดูแลกันเอง การกำกับดูแลร่วมกัน และการกำกับดูแลโดยรัฐ พบการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามจริยธรรม บรรทัดฐานของสังคม และแนวทางการเป็นสื่อที่ดีตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ เนื้อหาไม่เป็นกลาง มีอคติ เหมารวม ดูหมิ่น สร้างความเกลียดชัง ยุยง ปลุกปั่น แตกแยก เกินจริง บิดเบือน ข่าวลวง และข่าวหลอก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต อบรมการรู้เท่าทันสื่อ พัฒนาระบบ AI ตรวจจับเนื้อหา แก้ไขกฎหมาย ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาและภาคส่วนอื่น ๆ กำหนดแนวทางป้องกัน Cyber Crime และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ: การจัดทำคู่มือสำหรับผู้ส่งสาร 4 เก่ง คือ สร้างสรรค์ ตรวจสอบ ดูแล เป็นกลาง รอบด้าน และผู้รับสาร 4 เก่ง คือ ตั้งคำถาม ค้นหา แจ้งเตือน เรียนรู้ตลอดชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornviputpanich, P. (2018). The guidelines of ethical practice for citizen journalism in the era of social media. Degree of Doctor of Philosophy in Communication Arts Program, Faculty of Communication Arts, Dhurakij Pundit University.

Bunsiriphan, M. (2013). Introduction to journalism: Philosophy and concepts. Bangkok: Thammasat University Press.

Communication Policy Center Department of Communication Arts Sukhothai Thammathirat Open University. (n.d.). Guidelines for mass media, both mainstream and digital media, through 5 important principles. n.p.

Jommoon, R. (2021). The legal measure to regulate and control political fake news on cyberspace. Graduate School Chiang Mai University.

Leelayouth, P., & Otsu, B. (2017). Ethics and code of ethics of journalism in the era digital media. Journal of Graduate Studies Review Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 13(2), 176-189.

National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC). (2019). Fast checking new tool to promote media ethics. Retrieved from https://procheck.nbtc.go.th/articles/ detail/79

Panthong, W. (2022). Looking at 5 European nations to deal with political misinformation. Retrieved from https://www.naewna.com/politic/columnist/52295

Ramasoota, P. (2013). Internet Content Governance. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Singlor, T. (2022). SDG Updates: The role of the media in SDGS on a day when news and facts are mixed with distortions and media freedom are threatened. Retrieved from https://www.sdgmove.com/2021/08/24/sdg-updates-role-of-journalists-for-sdgs-in-the-time-of-misinformation-and-threats/

Wongphasuksathaporn, P. (2019). Lessons learned from countering fake news from Taiwan. Retrieved from https://www.isranews.org/content-Page/item/77599-fake-Newes-77599.html

Taiwan Media Watch Foundation. (2017). Taiwan media watch Retrieved from https://www.mediawatch.org.tw/node/8104