ปัจจัยทำนายพฤติกรรมในการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัย ของ อสม. อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้ยา , ความรู้ในการใช้ยา , ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , แรงจูงใจในการป้องกันโรค, ยาสามัญประจำบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างเหมาะสมของอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของอำเภอท่าช้าง จำนวน 129 ราย ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการใช้ยา แรงจูงใจในการป้องกันอันตรายจากการใช้ยาสามัญประจำบ้าน และพฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า 1) ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูล และ พฤติกรรมในการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนตัวแปรความรอบรู้ด้าน การเข้าใจข้อมูล ความรอบรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ความรอบรู้ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรงจากการใช้ยาและการจัดการยาสามัญประจำบ้านที่ไม่เหมาะสม และการรับรู้ประโยชน์จากการเลือกใช้หรือจัดการยาสามัญประจำบ้านที่เหมาะสมอยู่ในระดับสูง และ 2) ตัวแปรอิสระ 4 ตัว ได้แก่ ความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูล ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ความรอบรู้ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพ และการรับรู้ความรุนแรงจากการใช้ยาและการจัดการยาสามัญประจำบ้านที่ไม่เหมาะสม สามารถร่วมพยากรณ์พฤติกรรมในการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้ร้อยละ 43 (R2 = .427) โดยความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูล ( = .464) มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน (
= .327) ความรอบรู้ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพ (
= .226) และการรับรู้ความรุนแรงจากการใช้ยาและจัดการยาสามัญประจำบ้านที่ไม่เหมาะสม (
= .196) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการสร้างโปรแกรมและจัดทำคู่มือในการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ของคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ทรรศนีย์ บุญมั่น. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, จังหวัดพิษณุโลก.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.
ประยูรศรี บุตรแสนคม. (2555). การคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์เข้าในสมการถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 43-60.
พัชร์สณธิ์ อ่วมเกิด. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์, จังหวัดปทุมธานี.
วิรัตน์ แก้วภูมิแห่. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัยของอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารวิชาการแพทย์, 31(1), 61-71.
ศุทธินี วัฒนกูล, ศศิธร ชิดนาย, พิเชษฐ์ แซ่โซว, ดำริห์ ทริยะ, ศิวิไล ปันวารินทร และพรฤดี นิธิรัตน. (2563). ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 12(2), 72-81.
สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์. (2555). ยาสามัญประจำบ้าน (แผนปัจจุบัน แผนโบราณ). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565 จาก http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/ss-17387648.
สินีนาฏ วิทยพิเชษฐสกุล และอุกฤษฏ์ สิทธิบุศย์. (2557). พฤติกรรมการใช้ยาของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลบ่อกวางทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 117-128.
อุดมลักษณ์ อุสาหะ. (2561). พฤติกรรมการใช้ยาสามัญประจำบ้านของประชาชน อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, จังหวัดชลบุรี.
Badran, I.G (1995). Knowledge, attitude and practice the three pillars of excellence and wisdom: A place in the medical profession. Eastern Mediterranean Health Journal, 1, 8-16.
Bloom, Benjamin S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mckay.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). USA: LawrenceErlbaum associates.
Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม มสธ. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) (ออนไลน์)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.