การเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา : ทฤษฎี และการนำไปประยุกต์ใช้
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่า เป็นศาสตร์แห่งการศึกษาอย่างแท้จริง เพราะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของมนุษย์ และมีหลักการสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาและช่วยส่งเสริมมนุษย์ทุกคนไปสู่ความสมบูรณ์แบบในชีวิตโดยอาศัยการฝึกหัดหรือศึกษาเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญ ซึ่งการเรียนรู ฝกฝน ฝกหัดเพื่อพัฒนาตนทั้งหมดนี้ก็คือ การศึกษานั่นเอง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เรื่องการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วย 1) ทฤษฎีการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากทดลองศึกษาเรียนรู้ด้วยพระองค์เองจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและทรงวางหลักไตรสิกขาหรือข้อสำหรับศึกษา 3 ประการ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้เป็นระบบการศึกษาในพระพุทธศาสนาให้มนุษย์ได้ฝึกฝนเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนในด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจและด้านปัญญาตามศักยภาพของแต่ละคน 2) ขั้นตอนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ 3) กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนาซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) และอินทรียสังวร รวมถึงกระบวนการเรียนรู้หลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่ การรับรู้ การคิด และการปฏิบัติ และ 4) การนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนและผู้บริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จในเรื่องการดำเนินชีวิตไม่ว่าเรื่องเรียนและเรื่องการทำงาน
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). เรียนให้รู้ ใช้ข้อมูลอย่างผู้ชนะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส
มีเดีย จำกัด.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). การจัดการเรียนการสอนตามแนวพุทธะเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับ
นักเรียน. กรุงเทพฯ: บริษัท คอมเมอเชียล เวิลด์ มีเดีย จำกัด.
กุญชลี ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เพชรเกษม การพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพงษ์ บุญจิตรอดุลย์. (2550). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์กรุงเทพมหานคร.
เนาวนิจ ใจมั่น. (2551). พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผูเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นุชลี อุปภัย. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์). กรุงเทพฯ:
บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
___________. (2542). การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
___________. (2544). “กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย” ในสาระความรู้ที่ได้จากการ
สัมมนาวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้. รวมรวมและ
จัดพิมพ์โดยกรมวิชาการ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). หลักทั่วไปของพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
___________. (2548). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
___________. (2550). การศึกษาเริ่มตนเมื่อคนกินอยูเปน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระไพศาล วิสาโล. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565).
จาก http://www.visalo.org/article/budBudandSuksa.htm
___________. (2560). พุทธศาสนากับการสร้างสรรค์ปัญญา. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565).
จาก http://www.visalo.org/article/budBudandSuksa.htm
พรรณี ช.เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด.
พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์. (2557). “พุทธศาสนากับประสิทธิภาพของการศึกษา” ในสารนิพนธ์ ๒๕๕๗. รวมรวมและ
จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟื้น ดอกบัว. (2555). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท บูรพาสาส์น (1991) จำกัด.
มาลินี จุฑะรพ. (2537). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัท อักษราพิพัฒน์ จำกัด.
วรวิทย์ วศินสรากร. (2531). การเรียนรู้และการสอนตามแนวพุทธศาสตร์. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม 2566).
จาก http://www.ejournals.swu.ac.th/article/file:///C:/Users/ACER/Downloads/5733-
Article%20Text-16501-18701-10-20150826.pdf
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.