การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • วิญญ์ธชัย ศักดิ์กัณฑ์หา โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ห้องเรียนกลับด้าน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

           งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 82.05/81.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดี 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชลธิชา วิมลจันทร์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง อัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(36), 59–68.

พิชญ์สินี เพชรดี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 5(1), 203–219.

พิชยาพร ราชคำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่องพหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(37), 21–31.

ฟิรดาว สะแลแมง. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของพีระมิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อการเรียนรู้ Geogebra ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13, สงขลา.

มัณฑนา มาสี. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(2), 119–125.

วิทิต มูลวงค์. (2564). การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 60–67.

ศรีวิภา พูลเพิ่ม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ่อกรุวิทยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace /bitstream/123456789/1933/1/57316316.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอนคณิตศาสตร์. นิตยสาร สสวท, 46(209), 20–22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023