การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยของกลุ่มแม่บ้านชุมชน หมู่บ้านการเคหะ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี ยวงแก้ว -
  • พัตราภรณ์ อารีเอื้อ

คำสำคัญ:

มะพร้าวเสวย, การพัฒนาผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยของกลุ่มแม่บ้านชุมชนหมู่บ้านการเคหะ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย และ 4) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วัตถุประสงค์ที่ 1 ใช้การสนทนากลุ่มกับกลุ่มแม่บ้านที่เป็นประชากรทั้งหมด 15 คน การทดลองในห้องปฏิบัติการกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย 30 คน วัตถุประสงค์ที่ 2 ใช้แบบสอบถามกับผู้บริโภคมะพร้าวเสวย 400 คน วัตถุประสงค์ที่ 3 – 4 ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มแม่บ้านที่เป็นประชากรทั้งหมด 15 คน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สินค้าควรพัฒนาในเรื่องการทำบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นแบบถุงซิปล็อค มีตราสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม และการทดสอบรสชาติที่จะจัดจำหน่ายได้มากขึ้น และผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 มีความพึงพอใจสูตร B ซึ่งมีความหวานมาก 2) การทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสูตร B ในภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96) โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องตราสินค้ามีความสวยงาม (ค่าเฉลี่ย 4.28) รองลงมาคือ บรรจุภัณฑ์สวยงาม (ค่าเฉลี่ย 4.24) รสชาติหวาน อร่อย (ค่าเฉลี่ย 4.22) ตามลำดับ 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการทำแผนธุรกิจ (Business Model Canvas) ให้แก่ กลุ่มแม่บ้านชุมชนหมู่บ้านการเคหะฯ พบว่ากลุ่มแม่บ้านมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำแผนธุรกิจ และประยุกต์มาเขียนเป็นแผนธุรกิจมะพร้าวเสวยได้ 4) การวิเคราะห์ต้นทุนรวมต่อการผลิตพบว่า การผลิต 1 ครั้ง 3,300 บาท ซึ่งจะได้มะพร้าวเสวย 150 ถุง ราคาถุงละ 35 บาท มีรายได้ 5,250 บาท มีกำไรสุทธิต่อการผลิต 1 ครั้ง 1,950 บาท ดังนั้นการผลิต 100 เม็ด ของทางกลุ่มจะได้ผลตอบแทนพอดีกับการขายต่อครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบแทนพบว่า มีอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 37.14 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 5 ถุง ค่าขาย ณ จุดคุ้มทุน 175 บาท จำหน่ายได้ทั้งหมด 50 ถุง/สัปดาห์ สามารถจำหน่ายได้มากกว่าจำนวนตามจุดคุ้มทุน

References

ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำนาของเกษตรกรบ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12(1). 330-340.

พัชรพร กำแพงเพชร. (2566, กรกฎาคม 1). ผู้ประกอบการมะพร้าวเสวย. สัมภาษณ์.

ภัทราทิพย์ แสนตระกูล. (2564). แผนธุรกิจร้าน Coconut Coffee. การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาความเป็นผู้ประกอบการ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณา โชคบรรดาลสุข, กุลยา อนุโลก, วรลักษณ์ ทองประยูร และลำใย มีเสน่ห์. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์มะพร้าวแปรรูป ในจังหวัดราชบุรีด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสมาคมนักวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 25(1). 91-108.

สุภาพร วิชัยดิษฐ์, ศกลวรรณ คงมานนท์ และพุธรัตน์ บัวตะมะ. (2565). การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาผ้าทอท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. Journal of Modern Learning Development. 7(3). 347-364.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024