บุคลิกภาพในการสื่อสารของล่ามภาษามือในรายการโทรทัศน์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของคนหูหนวก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาบุคลิกภาพในการสื่อสารของล่ามภาษามือในรายการโทรทัศน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของคนหูหนวก 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพในการสื่อสารของล่ามภาษามือในรายการโทรทัศน์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย 1. ศึกษาเทปรายการข่าวที่มีบริการล่ามภาษามือ ที่ออกอากาศช่วงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 -30 เมษายน พ.ศ. 2564 จำนวน 3 สถานี ได้แก่ ไทยทีวีสี ช่อง 3 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 และ สถานีโทรทัศน์
โมโน 29 สถานีละ 7 เทป 2. สัมภาษณ์เชิงลึกล่ามภาษามือ จำนวน 8 คน และ 3. สนทนากลุ่มกับคนหูหนวก รวม 12 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลิกภาพการสื่อสารของล่ามภาษามือที่ส่งผลต่อการรับรู้ของคนหูหนวก แบ่งเป็น 1.1 บุคลิกภาพภายใน คือ ความมั่นใจ และการมีสมาธิ 1.2 บุคลิกภาพภายนอก คือ การแสดงออกทางสีหน้า แววตาและการถ่ายทอดอารมณ์รูปปากขณะแปล การแต่งกาย แต่งหน้า ทำผม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพภายใน คือ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษามือ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาข่าวที่แปล ทักษะภาษาไทย และมีภาพลักษณ์ภายนอกที่ดี ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพภายนอก คือ รูปแบบรายการ เนื้อหาข่าว ผู้ประกาศข่าว บุคลิกของล่ามภาษามือ ประสบการณ์ล่ามภาษามือในรายการโทรทัศน์ หูฟังและเสียง นโยบายของสถานี และสังกัด
Article Details
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. ข้อมูล
ณ วันที่ 30 กันยายน 2564. https://www.dep.go.th/images/uploads/files/situation_Sep64.pdf
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (2552, 29 พฤษภาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 77 ง. หน้า 2 .
law.m-society.go.th/law2016/uploads/lawfile/20090601_09_36_46_1088.pdf
เขมนิจ จามิกรณ์, เอกสิทธิ์ สนามทอง, อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล, และดวงเดือน จันทร์เจริญ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ระดับมืออาชีพในประเทศไทย. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย. ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2), 105-115.
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2559, 5 กุมภาพันธ์).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 35 ง. https://broadcast.nbtc.go.th/data/document/law/doc/th/590200000001.pdf
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร (2565). 7-38-55 Rule of Communication [Mehrabian].
https://drpiyanan.com/2022/05/26/7-38-55-rule-of-communication-mehrabian/
ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การเรียนรวมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. รำไทยเพรส.
มณีรัตน์ ศิริปัญจนะ. (2557). ประสิทธิผลด้านการรับรู้และความเข้าใจข้อมูลข่าวสารของคนหูหนวก จากรายการโทรทัศน์ผ่านล่ามภาษามือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5607030060_1585_1083.pdf
ศิวนารถ หงษ์ประยูร. (2558). การพัฒนารายการข่าวทางสื่ออินเตอร์เน็ตทีวี (IPTV) สำหรับคนหูหนวก. สุทธิปริทัศน์.ปีที่ 29 (ฉบับที่ 90), 291-312.
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2553). หลักสูตรพัฒนาบุคลิกภาพ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.
รุ้ง ศรีอัษฎาพร. (2558). บุคลิกภาพและความสามารถในการสื่อสาร จากวัยเด็กสู่วัยทำงาน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2559). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/1778Ws1U59233b073985.pdf
อารดา ครุจิต. (2560). โทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
David K.Berlo. (1960). The Process of Communication. New York:Holt, Rinehart and Winston.