การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจในการเรียน ในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, ภาษาอังกฤษ, การเรียนรู้เชิงรุก, ทักษะการคิดวิเคราะห์, แรงจูงใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจในการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสถิติทดสอบ t วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) กระบวนการของรูปแบบการเรียนการสอน (B - TAA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ กระตุ้นความอยากรู้คู่แรงจูงใจ วางแผนการเรียนรู้ร่วมกันในทีม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิเคราะห์ และยืนยันความถูกต้อง 4) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 5) บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน และ 6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.83) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูลสุข สังข์รุ่ง. (2550). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บี เคอินเตอร์ ปริ้นท์.
มยุรี นะราวัง. (2549). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหัวหมู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ผู้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ : 1 บทบาทของ นร. และครูที่เปลี่ยนไปในยุค digital learning. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2564 จาก https://www.gotoknow. org/posts/559353
เวียงชัย อติรัตนวงษ์. (2553). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขามแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านและแนวทางในการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแรวคิดการเรียนรู้โดยปรากฏการณ์เป็นฐานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องหลักสูตรความสามรถในการคิดเชิงนวัตกรรม และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุวิมล พงษ์พันธ์. (2548). การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามวัฏจักร 4 MAT ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อนุเบศ ทัศนิยม และ สุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 31-44.
Ausuble, D. P. (1968). Educational Psychology : A Cognitive view. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Bonwell, C. C. & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. Washington, D. C.: The George Washington University.
Chickering, A. W. & Gamson, Z. F. (1987). Seven principles for good practice in undergraduate education. Retrieved February 25, 2561, from http://www.lonestar.edu/multimedia/SevenPrinciples.pdf
Edwards, M. G. (2019). High School Teachers' Perceptions of Developing Critical Thinkers viathe Socratic Method. USA: High School Teachers' Perceptions of Developing Critical Thinkers viathe Socratic Method.
Fatih, M. & Pinar F. (2015). Investigation of factors affecting critical thinking skills. The Business and Management, 6(4), 110-123.
Joyce, B. et al. (2009). Models of teaching. New York: Pearson Education, Inc.
McClelland, D. C. (1985). Human motivation. Chicago: Foresman Scott.
Sanders, J. R. (1994). The program evaluation standards. (2nd ed). Thousand Oaks: SAGEPublications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.