ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์, ธุรกิจท่องเที่ยว, แม่น้ำเจ้าพระยา, นักท่องเที่ยวชาวจีนบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาบริบทของธุรกิจการท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวจีน จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ ใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่ม นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเขตกรุงเทพมหานคร และจัดการระดมสมองเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ได้แก่ ด้านการบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านนโยบายภาครัฐ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ สำหรับนักท่องเที่ยว ชาวจีน ได้แก่ ด้านการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านความร่วมมือทางธุรกิจ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านนโยบายภาครัฐ ด้านบุคคล และด้านกระบวนการให้บริการ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวทางแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย และ ด้านนโยบายภาครัฐ และ 4 ยุทธศาสตร์รอง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านบุคคล ด้านความร่วมมือทางธุรกิจ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ปลัดท่องเที่ยว "ห่วงใย เที่ยวเมืองไทย สุข สนุก ปลอดภัยทุกฤดูกาล". เรียกใช้เมื่อ 22 มกราคม 2563 จาก https://www.mots.go. th/News-view.php?nid=8498
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2561 (ภาคกลาง). เรียกใช้เมื่อ 13 มกราคม 2563 จาก https://www.mots.go.th/old /more_news.php?cid=531& filename=index
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์เดือนพฤศจิกายน 2562. เรียกใช้เมื่อ 23 มกราคม 2563 จาก https://www.mots.go.th/download/article /article_20200106115632.jpg
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา และคณะ. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริษัทนำเที่ยวจีน ในการมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิษณุโลก.
ชุติระ ระบอบ. (2562). ทัศนคติของผู้ให้บริการในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีต่อแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
พินิตา แก้วจิตคงทอง และเยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดประชุมและสัมมนา (MICE) ของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 35-46.
ภาวิดา ธนาธัญทวี. (2559). มิติกระบวนการตัดสินใจ: นักท่องเที่ยวจีนร่ำรวยเยือนประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยสยาม.
รสริน สุภารัตน์ และคณะ. (2557). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศิกษก บันลือฤทธิ์ และจิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ. (2561). เรือกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Aleksandr P. G., et al. (2016). Perspective Tools of the Strategic Management of VFR Tourism Development at the Regional Level. RUSSIA: Pyatigorsk State University.
Kanika Thakran and Rohit Verma. (2013). The Emergence of Hybrid Online Distribution Channels in Travel, Tourism and Hospitality. New York City: Cornell University.
Krungthai COMPASS. (2563). ทิศทางนักท่องเที่ยวจีนในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร? กรุงเทพมหานคร: ไทยพับลิก้า.
Ramazan Goral. (2016). Price Competitiveness of International Tourism Destinations and Tourism Demand, Tourism Receipts Relationship. European Journal of Multidisciplinary Studies, 1(2), 195-203.
Sadaf Alam, et al. (2017). Discriminant Analysis of Marketing Mix Factors’ in influencing the Use of Hotel Services in Pakistan. Journal of Business and Tourism, 2017(Special Issue), 143-152.
Wang, Y.P. (2015). A Study on Kinmen Resident's Perception of Tourism Development and Culture Heritage Impact. Xiamen China: Huaqiao University.
Jinting, W. (2017). Ethnic Tourism and the Big Song: Public Pedagogies and the Ambiguity of Environmental Discourse in Southwest China. Faculty of Education: University of Macau.