รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระมหาเกรียงไกร พงษ์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สมคิด สร้อยน้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • เสาวนี สิริสุขศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบความสัมพันธ์, โครงสร้างเชิงเส้น, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพ, พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง ทางอ้อมและโดยรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจำนวน 655 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.951 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การกระจาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และโปรแกรมลิสเรล 8.72

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพและระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (  x2= 46.48, df = 33, p = 0.06, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.025, SRMR = 0.020, CN = 764.27) และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้แก่ 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง คือ คุณลักษณะของครู วัฒนธรรมโรงเรียน การมีส่วนร่วมของชุมชน บรรยากาศโรงเรียน และภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือ วัฒนธรรมโรงเรียน คุณลักษณะของครู ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และบรรยากาศโรงเรียน 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม คือ คุณลักษณะของครู วัฒนธรรมโรงเรียน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บรรยากาศโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของชุมชน

References

กมลวรรณ รอดจ่าย. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามณี ไกรคุณาศัย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อ คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

อาชีวศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศักดิ์ ตินอาสา. (2558). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนกีฬา. ใน ดุษฎีนิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระราชวรมุนี. (2521). การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ มาสุวัตร์. (2559). รูปแบบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 221-230.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วชิราภรณ์ ทะคะทิน. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา แนวคิดและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมนึก การีเวท. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (พ.ศ. 2553 - พ.ศ.2562). เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2561 จาก https://www.onab.go.th.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ปีการศึกษา 2562. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2562 จาก https://deb.onab.go.th.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2561). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 22 มีนาคม 2561 จาก www.onesqa.or.th/upload/download/201704271505239.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยประเมินผลตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: เพลินสตูดิโอ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา: ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ.2551 - 2555). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สิรินารถ แววสง่า. (2556). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุภมาส อังศุโชติและคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: มิสชันมีเดีย.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำรุง จันทวานิช. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี.คอมมินิเคชั่น.

Erdfelder, E, et al. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavioral Research Method, 39(1), 175-191.

Hoy, K. W., & Miskel, G. C. (2005). Educational administration: Theory, research, and practice. 7th ed. New York: McGraw-Hill.

Jack, S., et al. (2018). Building a better measure of school quality. เรียกใช้เมื่อ 28 February 2018 จาก https://mciea.org/images/PDF/Building_a_Better_ Measure.pdf

Jöreskog, K. G., & Sörbom, D. (2006). LISREL 8.80 for Windows [Computer software]. Skokie: Scientific Software International.

Lunenburg, F. C., et al. (2004). Educational Administration: Concepts and Practice 3 rd ed. Elmont: Wadsworth.

Sergiovanni, Thomas J. (1991). The principal ship: A reflective practice perspective. Needham Heights: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/29/2020

How to Cite

พงษ์ศาสตร์ พ., สร้อยน้ำ ส. ., & สิริสุขศิลป์ เ. . (2020). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 334–348. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/237469