แนวทางการสร้างเสริมพลังอำนาจผู้สูงอายุ โดยใช้วัดเป็นฐานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • รัชพล อ่ำสุข มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • นฤมล เจริญใจ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ,, ผู้สูงอายุ, วัด, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพร้อมของวัดและทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการใช้วัดเป็นฐานในการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้วัดเป็นฐานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และ 3) แนวทางการสร้างเสริมพลังอำนาจผู้สูงอายุโดยใช้วัดเป็นฐานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในวัดต่าง ๆ 7 วัดจาก 6 ภูมิภาค จำนวน 489 คน ซึ่งได้จากการเลือกตามสะดวก และผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 26 คน ประกอบด้วย เจ้าอาวาส ประธานชมรมผู้สูงอายุระดับจังหวัด ผู้ปฏิบัติงานจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้ปฏิบัติงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกตการณ์และแบบบันทึกผลการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมของวัดในการเป็นฐานดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในภาพรวมของประเทศไทย อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการนำวัดมาใช้เป็นฐานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยากร และทุนทางสังคมระดับบุคคล ส่งผลต่อความพร้อมของวัดในระดับที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) การสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้สูงอายุ ในภาพรวม อยู่ในระดับ    ปานกลาง แนวทางที่ควรนำมาใช้เสริมพลังอำนาจ คือ การเสริมพลังผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เพื่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในขณะที่ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดกับชุมชน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://www.dop.go.th/th/know/1/275

กัลยาณี พละทรัพย์. (2553). การเสริมสร้างพลังอำนาจทางสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม บ้านกุ่มพะยา ตำบลบึง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สาขาสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ. วิทยาลัยนครราชสีมา.

ชูใจ คูหารัตนไชย. (2538). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราวิชาการ.

นภเรณู สัญจจรักษ์. (2562). ทฤษฎีเกี่ยวกับการสนทนาในรูปแบบกลุ่ม (Focus Group). เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://www.li.mahidol.ac.th/seminar/pdf/VOC-2.pdf

นิศา ชูโต. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: พริ้นต์โพร.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.

ประยูรศรี บุตรแสนคม. (2555). การคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์เข้าในสมการถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 43-60.

พระครูปลัดสราวุธ ฐิตปญฺโญ, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ และสุรพล สุยะพรม. (2560). การพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 505-522.

พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 25-36.

พระวัฒธยา ฐิติสมฺปนฺโน. (2560). ความร่วมมือของบ้าน วัด โรงเรียนในการพัฒนาสังคม อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(3), 86-102.

ศิริพร สันถวชาติ. (2551). การปฏิบัติธรรมกับการอบรมพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุไทย. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2551 จาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14278

สิริพร ทาชาติ. (2550). การดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ: กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ วัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี. ใน ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนทร โสภณอัมพรเสนีย์. (2551). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ โดยกระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจ บ้านหนองพลวง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา พรสิริพงษ์, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ และยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2557). วัดในพุทธศาสนากับความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล, 33(1), 99-125.

อรรครา ธรรมาธิกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาชุมชน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education. Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/02/2020

How to Cite

ปญฺญารุโณ พ., วิจิตรวัชรารักษ์ ก. ., อ่ำสุข ร., & เจริญใจ น. . (2020). แนวทางการสร้างเสริมพลังอำนาจผู้สูงอายุ โดยใช้วัดเป็นฐานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 102–121. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/237878

ฉบับ

บท

บทความวิจัย