โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ ในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย

ผู้แต่ง

  • วุชธิตา คงดี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุรีย์ จันทรโมลี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, โรคระบบทางเดินหายใจ, พนักงาน, โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

บทคัดย่อ

                พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งคุกคามซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจสูง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 3) ศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมและพิมพ์ผ้า จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 220 คน ที่เป็นพนักงานประจำ อายุ 18 - 60 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Research) วิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน PLS-SEM (Partial Least Square: PLS) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Smart - PLS3 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) สมรรถภาพปอด (Lung Function) 2) การมีความสุข (Happiness) 3) การนอนหลับสนิท (Deep Sleep) 4) การดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol) 5) ปัญหาสุขภาพทางกายและประวัติการรักษา 6) ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index) ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) มลพิษในสถานที่ทำงาน (Pollution) 2) การมีสัตว์เลี้ยงในบริเวณที่ทำงาน (Pets) ผลการวิเคราะห์โมเดลเพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวแปรทั้ง 8 ตัว พบว่าผ่านเกณฑ์คุณภาพตามมาตรฐานทุกตัวแปร แสดงว่าปัจจัยเชิงสาเหตุทุกตัวมีความเกี่ยวข้องเชิงพยากรณ์ (Predictive Relevance) กับการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยมีความแม่นยำในการพยากรณ์โรคระบบทางเดินหายใจอยู่ในระดับ ปานกลาง (R2 = 0.412) จากผลการวิจัยนำไปสู่การเสนอแนวทางสำหรับผู้บริหารและพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อม ให้มีการป้องกันตนเอง และสร้างความปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินหายใจได้ ช่วยให้ทราบปัจจัยอันก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่รายสัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 39 ปี 2562ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2562). เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2562 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/973120191007031852.pdf

กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2552). การป้องกันอันตรายจากสารเคมีสำหรับครูและประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขนิษฐา เจริญลาภ และปทุมทิพย์ ปราบพาล. (2556). การกำจัดสีในน้ำเสียสิ่งทออย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยสารโคแอกกูแลนต์จากธรรมชาติ. ใน โครงการวิจัยทุนสนับสนุนงานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2556 สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ.

ทศพร เอกปรีชากร และคณะ. (2559). การเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอดหลังจากทำงานในรอบวันในคนงานโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่ง. เวชสารแพทย์ทหารบก, 69(1), 3-10.

ทิพวรรณ วงเวียน. (2557). ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนของผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคดังกล่าวในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารเภสัชกรรมไทย, 6(2), 106-114.

นัทพงศ์ สุพิมล. (2562). สัปดาห์รณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและสมเหตุผล. จดหมายข่าวสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, 18(2), 1-4.

ปภาวีย์ หมั่นกิจการ และทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน: กรณีศึกษาแรงงานทำดอกไม้ประดิษฐ์จากสำลี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภูวดล ผู้เลี้ยง และคณะ. (2561). ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจของช่างเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมในเขตจังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ และเกษวดี ลาภพระ. (2562). การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2561). มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละออง อันตรายคุกคามในอากาศ. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2561 จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2018/air-pollution-threat

วัลภา บูรณกลัศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวกับความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 25-33.

ศรีสมร กมลเพ็ชร และคณะ. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดโรคหืดจากการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้านวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค, 32(1), 1-9.

ศิริอร สินธุ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่รับการรักษา ด้วยการล้างไตทางช่องท้อง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(2),84-92.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2562). สถิติสิ่งทอไทยปี 2561/2562 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม ณ ราคาปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

สมศักดิ์ วงค์วาร และวธู พรหมพิทยารัตน์. (2559). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาปฏิชีวนะไม่ครบเทอมของผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ. ใน ดุษฎีนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม . (2561). คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควันสำหรับบุคลากรสาธารณสุข: โรคและภัยสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Briggs DD Jr, Doherty DE. (2004). Chronic obstructive pulmonary disease: Epidemiology, pathogenesis, disease course, and prognosis. Clin Cornerstone, 6(2): S5-S16.

Donald Barclay et al. (1995). The Partial Least Squares (PLS) Approach to Causal Modelling: Personal Computer Adoption and Use as an Illustration. Technology and Investment, 2(2), 285-309.

Jim O’Neill. (2014). Antimicrobial resistance: Tackling a crisis for the health and wealth of nations. London: Wellcome trust.

Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. NewYork: Guilford Press.

Sih T. (1999). Correlation between respiratory alternations and respiratory diseases due to urban pollution. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology, 49(1), 261-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/31/2020

How to Cite

คงดี ว., & จันทรโมลี ส. . (2020). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ ในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 118–135. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/239768

ฉบับ

บท

บทความวิจัย