โมเดลเชิงสาเหตุการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า
คำสำคัญ:
โมเดลเชิงสาเหตุ, สังคมผู้สูงอายุ, หลักพุทธจิตวิทยา, การตลาดในทศวรรษหน้าบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้า งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมวิธีแบบพหุระยะ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเสริมการวิจัยอนาคตด้วยเทคนิค EDFR เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพจากงานเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแบบบรรยายและค่าสหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า = 80.73, df = 68, p = .138, GFI = .980, AGFI = .960, RMSEA = .019, RMR = .022 โดยมีแนวคิดโยนิโสมนสิการเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผลการวิเคราะห์ฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเตรียมความพร้อมฯ ด้วยเทคนิค EDFR พบว่า ค่าพิสัยควอไทล์ (Q3 - Q1) ไม่เกิน 1.50 ความแตกต่างระหว่างมัธยฐานและฐานนิยม ไม่เกิน 1.00 แสดงให้เห็นว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน (Consensus) ดังนั้น โมเดลเชิงสาเหตุฯ ที่พัฒนาขึ้นแสดงให้เห็นว่าความพร้อมของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่การตลาดในทศวรรษหน้าโดยมีหลักโยนิโสมนสิการและกัลยาณมิตรเป็นองค์ประกอบจะทำให้ผู้สูงอายุมีความพร้อมในมิติของการมองโลก (Cosmic Dimension: C) มิติการมองตน (Self-Dimension: S) มิติด้านสัมพันธภาพต่อผู้อื่นและสังคม (Social and personal relations dimension: S) และความสามารถทางจิตวิญญาณ (Spiritual Ability: S) จึงเป็นโมเดล C3S for Smart Aging มีอิทธิพลต่อแนวคิดของผู้สูงอายุในอีก 10 ปีข้างหน้า
References
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2557). กระบวนการปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2540). การวิจัยอนาคตแบบ EDFR ในแบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2551). การวิจัยอนาคต. วารสารสมาคมการวิจัย, 13(2), 9-13.
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580). (2562). ราชกิจจานุเบกษา 136(47), 1.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). โยนิโสมนสิการ: วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: ปัญญาประดิษฐาน.
พระมหาวรวรรธน์ นภภูสิริ (อัตถาพร). (2554). การศึกษาวิเคราะห์วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560 – 2579). (2560). ราชกิจจานุเบกษา 135(82), 1.
รุ่งลาวัลย์ ละอำคา. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ: เส้นทางแห่งปัญญาเพื่อการพัฒนาครูและศิษย์. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(2(4)), 19-28.
ลดารัตน์ สาภินันท์. (2545). ภาวะธรรมทัศน์ในวัยผู้สูงอายุและการเตรียมตัวเกี่ยวกับความตายของผู้สูงอายุ. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลำพอง กลมกูล. (2554). อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วิทมา ธรรมเจริญ. (2555). อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 23 มีนาคม 2563 จาก https://www.nso.go.th
อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2552). การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยแรงงาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
Joseph F Hair et al. (1998). Multivariate data analysis Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall.
Lars Tornstam. (2005). Gerotranscendence: A Developmental Theory of Positive Aging. New York: Springer Publishing Company Inc.
Philip Kotler et al. (2016). Marketing 4.0 moving from traditional to digital. New Jersey: John Wiley & Sons Inc.
Rekettye Gábor. (2016). The effects of global trends on the future of marketing communications - an international perspective. In Doctoral Dissertation. University in Győr Hungary.