ผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธสำหรับเยาวชน ในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม

ผู้แต่ง

  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อำนาจ บัวศิริ นักวิชาการอิสระ
  • อัครนันท์ อริยศรีพงษ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

เยาวชน, การพัฒนาตน, สุขชีวีวิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เสนอผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธสำหรับเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบ Non - Randomized Control - Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนชั้นมัธยมศึกษาปี 4 ที่มาเข้าค่ายคุณธรรมในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร คัดเลือกแบบเจาะจง จากเยาวชนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 128 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 64 คน และกลุ่มควบคุม 64 คน จัดกิจกรรมฝึกอบรมเป็นเวลา 2 วัน 1 คืน จำนวน 10 กิจกรรม และติดตามผลหลังเข้าร่วมกิจกรรม 1 เดือน โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยออกแบบ และกลุ่มควบคุมทำกิจกรรมตามปกติ เครื่องมือที่ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการพัฒนาตน แบบวัดการพัฒนาตน และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t - test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) ผลวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธของกลุ่มทดลอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม หลังการเข้าร่วมกิจกรรม และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 68.661***, p-value = .000) เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 และ 2.89) และระยะติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนสูงกว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และ 3.32) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์และคณะ. (2560). ค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของสามเณร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 40-55.

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย. (2563). บวร:บ้านวัดโรงเรียน สร้างชีวิตจิตใจให้เข้มแข็งมีพลังสร้างสรรค์ ด้วยความรู้สติปัญญาและความจริง. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2563 จาก https://siamrath.co.th/n/19811

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตหรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พุทธวิธีแก้ปัญหา เพื่อศตวรรษที่ 21. นครปฐม: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). โยนิโสมนสิการ:วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาประดิษฐาน.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). การเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท. (2562). การจัดการเรียนรู้สู่ความพอเพียงตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่4. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(3), 800.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น)และคณะ. (2559). การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุทธยา: สถาบันวิจัยวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. (2562). การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0. ใน คำกล่าวเปิดเปิดงานวันคล้ายวันก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน และการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 MCU Nan Congress II . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสำราญ ปภสฺสโร (สามเพชรเจริญ) และอำนาจ บัวศิริ. (2559). การพัฒนาคุณธรรมเยาวชนรุ่นใหม่. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(3), 133-142.

รศ.ดร. พระสุธีรัตนบัณฑิต. (21 มกราคม 2562). ผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธสำหรับเยาวชนในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม. (กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, ผู้สัมภาษณ์)

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิตและคณะ. (2555). คู่มือวัดความสุขด้วยตัวเอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเทพ ชิตยวงษ์. (2562). เด็กมีปัญหาสุขภาพจิตเยอะ สพฐ. ตื่นตัว จัดระบบดูแลจิตใจ ในโรงเรียนอย่างจริงจัง หลังพบตัวเลขเด็กโทร.ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตอื้อ. เรียกใช้เมื่อ 22 มกราคม 2562 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/0000043866

Bandura, Albert. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall.

Dusek,B.J. (1987). Adolescent development and behavior. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/31/2020

How to Cite

ภูวชนาธิพงศ์ ก. ., อุดมธรรมานุภาพ เ. ., ภูริปญฺโญ พ. ., บัวศิริ อ., & อริยศรีพงษ์ อ. . (2020). ผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธสำหรับเยาวชน ในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 34–52. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/240351

ฉบับ

บท

บทความวิจัย