การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าในบริบทพหุวัฒนธรรมอินเดีย
คำสำคัญ:
การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, พหุวัฒนธรรมอินเดียบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทพหุวัฒนธรรมทางลัทธิศาสนาและความเชื่อในสังคมอินเดียยุคพุทธกาล และเพื่อศึกษาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าในบริบทพหุวัฒนธรรมทางลัทธิศาสนาและความเชื่อในสังคมอินเดียยุคพุทธกาล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า สังคมอินเดียในยุคพุทธกาลมีกลุ่มลัทธิศาสนาและความเชื่อเกิดขึ้นมากมายถึง 62 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีแนวคิดและแนวปฏิบัติต่าง ๆกัน พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่ากลุ่มลัทธิศาสนาและความเชื่อเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้มนุษย์หลงวนอยู่ในข่ายแห่งมิจฉาทิฏฐิไม่อาจพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง ในท่ามกลางบริบทเช่นนี้ พระองค์ทรงมีพุทธประสงค์ที่จะนำ หลักคำสอนว่าด้วยความจริงแท้และการหลุดพ้นจากทุกข์ที่พระองค์ตรัสรู้ไปเผยแผ่ให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ปวงชน รวมทั้งทำให้พระศาสนามีความตั้งมั่น แผ่ไพศาล และบริบูรณ์ โดยมีแนวทางการเผยแผ่พระศาสนาในลักษณะการขับเคลื่อนเชิงรุกและบูรณาการ 5 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดการองค์กร; เน้นการจัดระบบโครงสร้าง ระบบการปกครองสงฆ์ ความสัมพันธ์ภายในองค์กร คุณภาพบุคลากร และการจัดการความรู้ 2) หลักคำสอนทางศาสนา ให้มีทั้งระดับโลกุตรธรรมและระดับจริยธรรม 3) การถ่ายทอดหลักคำสอน; ใช้พุทธวิธีจำแนกธรรม ชั้นเชิงวาทศิลป์ และกุศโลบายในการสอน 4) การขยายเครือข่ายทางศาสนา; เน้นการเข้าถึงกลุ่มชนชั้นนำผู้มีความถึงพร้อมทางธรรม และ 5) การจัดความสัมพันธ์ทางสังคม; ยึดหลักดุลยภาพ หลักสันติ - เมตตา รวมถึงการปกป้องความบริสุทธิ์ของพระศาสนาและเสถียรภาพขององค์กร
References
พระครูโอกาสธรรมพิทักษ์ (เสียม เตชธมฺโม/เงางาม). (2554). “การศึกษาหลักและวิธีการเผยแผ่ธรรมของพระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ)”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธวิธีในการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). การปฏิรูปและฟื้นฟูพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก http://www.buddhadasa.org
พระไพศาล วิสาโล. (2560). พุทธศาสนากับภารกิจในยุคโลกาภิวัตน์. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://www.visalo.org/article/kanlayanadham38.html
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. (2548). ขบวนการพระพุทธศาสนายุคใหม่: พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism). เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/519
พระมหาหรรษา ธัมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2554). พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรศักดิ์ มหัทธโนบล. (2555). พุทธโคดม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเพ่นบุคส์.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2559). “ปรากฏการณ์ทางศาสนาในโลกาภิวัตน์” ใน จับกระแสสังคมศาสตร์: รวมบทความวิชาการ 50 ปี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Thich Nhat Hanh. (n.d.). “Love in Action” (Excerpted From “The Soul of Nature: celebratingthe spirit of the Earth” edited by Michael Tobias & Georgianne Cowan, Penguin 1996.). Retrieved January 1 , 2020, from http://www.swa raj. org /shikshantar/Love%20in%20Action.pdf