รูปแบบการพัฒนาความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักเรียนมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาความฉลาด, การเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค, หลักพุทธจิตวิทยาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนวพุทธจิตวิทยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมิน และทดลองกับกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ การรักษาศีล 5 การมีวินัยในตนเอง การมีสติ ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา การรักษากาย วาจา ใจ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน 2) ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบโดยบูรณาการหลักจิตวิทยาตะวันตก ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค (AQ) กับหลักพุทธธรรมในการสร้างความเพียร เพื่อให้เกิดรูปแบบการพัฒนาความฉลาดในการแก้และฝ่าฝันอุปสรรค มีศีล 5 เป็นหลักธรรมพื้นฐานในการปลูกฝังให้นักเรียน เพื่อเป็นหลักและแนวทางในการดำรงชีวิต 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติไม่พบผลความแตกต่างของกลุ่มควบคุมทั้งก่อนและหลังการทดลอง แต่พบผลความแตกต่างของกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมโปรแกรม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม พบว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรม ในระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 จากผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาความฉลาดในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่าการให้ความรู้นักเรียนในการรักษาศีล 5 การรักษาระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และการรักษากาย วาจา ใจ ด้วยความอดทน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิด คำพูดและการกระทำ
References
นันท์นัทธฉัตร ศรีวิเศษ. (2558). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2530). การพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ พริ้นติ้น กรุ๊ป.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และประทีป จินงี่. (2546). การอบรมเลี้ยงดู: รูปแบบและผลที่เกิดกับ ลูกรัก. กรุงเทพมหานคร: ร่วมสรรค์สร้างเด็กและเยาวชน พริ้นต์.
สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2550). วินัย เรื่องใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
Stoltz, P.G. et al. (1999). Adversity Quotient: Turning obstacles into opportunities. New York: Bantan Books.
Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.