แนวคิดและบทบาททางเศรษฐกิจของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ในสังคมไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544

ผู้แต่ง

  • วันชาติ ชาญวิจิตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประยงค์ แสนบุราณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บทบาททางเศรษฐกิจ, พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน), สังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดและบทบาททางเศรษฐกิจของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและบทบาทของหลวงตามหาบัวที่ปฏิบัติจริงในสังคม ทำการศึกษาผ่านกัณฑ์เทศน์ในการอบรมฆราวาสของหลวงตามหาบัว โดยการเลือกเนื้อหากัณฑ์เทศน์จากเว็บไซต์ www.luangta.com ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2544 จำนวน 135 เรื่อง นำมาจัดระเบียบข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ตีความ และสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดและบทบาทของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ในสังคมไทยชี้ให้เห็นภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในตัวมนุษย์ คือ ปัญหาขาดธรรมเป็นเครื่องมือในการควบคุมความประพฤติ ส่งผลกระทบต่อการอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ในสังคม และนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจ หลวงตามหาบัวจึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทำให้บทบาทของหลวงตาปรับเปลี่ยนไปจากอดีตที่ผ่านมา จึงปรากฏให้เห็นการแสดงบทบาทของหลวงตา คือ บทบาทในฐานะผู้นำแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ บทบาทในการสั่งสอนประชาชนให้รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ และบทบาทในการสั่งสอนหลักการบริโภคให้แก่ประชาชน จากบทบาทที่ปฏิบัติจริงสะท้อนให้เห็นการสงเคราะห์โลกทั้งทางวัตถุและทางธรรม          เพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูล และแก้ไขวิกฤตทางเศรษฐกิจ การศึกษาบทบาทที่ปฏิบัติจริงของหลวงตามหาบัวในสังคมไทย จึงเป็นแนวทางในการกำหนดบทบาทที่พึงประสงค์ของพระสงฆ์ในสังคมยุคใหม่ พระสงฆ์ต้องมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม ตลอดจนกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของประชาชน ภายใต้วิกฤตทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต

References

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2548). ระบบเศรษฐกิจและพัฒนาการเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: ส. เสริมมิตรการพิมพ์.

นคร พจนวรพงษ์ และอุกฤษ พจนวรพงษ์. (2542). ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

เบญจา มังคละพฤกษ์. (2551). การสื่อสารทางการเมืองของพระสงฆ์ไทย: กรณีศึกษาพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) พ.ศ. 2544 - 2548. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ: บทสนทนาระหว่างพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กับนายลอเรนส์ แวน เดน มิวเซนเบิร์ก (พนิตา อังจันทรเพ็ญ, ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ธรรมะ.

พระมหาเจริญ คำราช. (2546). บทบาทพระสังฆาธิการในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2554). แนวคิดในการนำเศรษฐกิจเชิงพุทธศาสนาสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส. ศิวรักษ์. (2533). อิทธิพลพุทธทาสต่อสังคม. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการศาสนาเพื่อพัฒนา.

สมลักษณ์ สันติโรจนกุล. (2555). หลักเศรษฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). วิบากเศรษฐกิจ 2540: บทเรียนจาก ศปร.1. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน. (2557). ประวัติหลวงตา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.

Dowling, B. I. & Mcdregal, T. (1998). Business Concepts. New York: Oregon State University.

Edelglass, W. (2009). Thich Nhat Hanh’s Interbeing: Fourteen Guidelines for Engaged Buddhism. New York: Oxford University.

Gyatso, G. K. (2013). Modern Buddhism: The Path of Compassion and Wisdom. Wiltshire: Munken Pure by CPI Antony Rowe.

Samuelson, P. A. (1973). Economics. ( 9th ed.). New York: McGraw Hill books.

Swearer, D. K. (2010). The Buddhist World of Southeast Asia. ( 2nd ed.). New York: University of New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/20/2020

How to Cite

ชาญวิจิตร ว. ., & แสนบุราณ ป. . (2020). แนวคิดและบทบาททางเศรษฐกิจของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ในสังคมไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 315–327. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/241102

ฉบับ

บท

บทความวิจัย