การพัฒนารูปแบบการสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สิทธิพร สุดพรหม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การสอน 2S Model, การแก้โจทย์ปัญหา, วิชาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบ การสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี 2) พัฒนารูปแบบการสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี และ 3) รับรองคุณภาพรูปแบบการสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี โดยใช้การวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง, แบบสอบถามปัญหาและความต้องการด้วยเทคนิคเดลฟาย, แบบประเมินตรวจสอบความเหมาะสม และแบบประเมินรับรองคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนเห็นว่านักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในทุกเรื่อง โดยเรื่องที่เรียนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด จะหลุดไปเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งไม่ได้ สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นคือการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์   เมื่อไม่มีความรอบคอบในการคิดคำนวณ ก็มักจะคิดคำตอบของโจทย์ปัญหาผิดเสมอ ทั้งนี้ในส่วนของนักเรียนมีความประสงค์ให้ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ดำเนินการสอนวิเคราะห์แก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์เป็นพิเศษ ซึ่งผลการประเมินตรวจสอบความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลการรับรองคุณภาพอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2545). กลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จรัญ กองศรีกุลดิลก. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกกิจกรรมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เน้นการวางแผนการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นภาภรณ์ ธัญญา. (2552). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮ - สโคป สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียน เบญจมราชาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ . ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัฎกัญญา เจริญเกียรติบวร. (2550). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นาย ก (นามสมมุติ). (27 เมษายน 2562). การพัฒนารูปแบบการสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี. (สิทธิพร สุดพรหม, ผู้สัมภาษณ์)

ปาจรีย์ เยาดำ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการใช้กลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2552). การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มร่วมมือกันเรียน (Cooperative earning). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

อดิศร ศิริ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

Maccini, P. and Hughes C. A. (2000). Effects of a problem solving strategy on the introductory algebra performance of secondary students with learning disabilities. New York: Learning Disabilities Research & Practice.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2020

How to Cite

สุดพรหม ส. (2020). การพัฒนารูปแบบการสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 281–292. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/241281

ฉบับ

บท

บทความวิจัย