แนวทางการพัฒนาการจัดการขององค์การสิ่งพิมพ์ ในยุคการเปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ:
การจัดการขององค์การสิ่งพิมพ์, ธุรกิจสิ่งพิมพ์, ยุคการเปลี่ยนแปลง, องค์การสิ่งพิมพ์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทาง การพัฒนาการจัดการขององค์การสิ่งพิมพ์ ในยุคการเปลี่ยนแปลง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 คน จำแนกเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคลากรจากหน่วยงานราชการ จำนวน 5 ท่าน และหน่วยงานเอกชน จำนวน 8 ท่าน และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มนักวิชาการ จำนวน 9 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อการปรับตัว เข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสิ่งพิมพ์นั้น ต้องมีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ด้านการผลิต ควรมีการพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง สั่งวัตถุดิบเข้าคลังสินค้าตามพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย 2) ด้านการเงิน ต้องมีการลงทุนโดยพิจารณาการบริหารงบประมาณ เพื่อสร้างคุณภาพการพิมพ์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 3) ด้านการตลาด ควรศึกษาความต้องการของลูกค้า และควรมีการตัดสินใจทางการตลาดบนพื้นฐานข้อมูลของลูกค้า 4) ด้านทรัพยากรบุคคล ควรวางแผนการใช้ทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับความสามารถ โดยการออกแบบระบบการใช้ทรัพยากรบุคคลที่ให้คำนึงถึงลำดับความสำคัญของงาน อันนำไปสู่แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ขององค์การสิ่งพิมพ์ โดยองค์การควรมีการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และบุคลากรในองค์การให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่องค์การมีการเลือกมาใช้ ควรมีการปรับเปลี่ยนระบบความคิด (Mind Set) และตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในยุคของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มีการดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งควรนำความรู้พื้นฐานที่บุคลากรในองค์การอยู่สามารถเอามาต่อยอดได้ ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นได้
References
รัตนชัย ม่วงงาม. (2562). มาแน่ๆ! 5 วิธีปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ต้อนรับสังคมไร้เงินสด. เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2562 จาก http://www.thaismescenter.com
วัชชิรานนท์ ทองเทพ. (2562). สิ่งพิมพ์ไทยยุค 4.0 ยังซบเซา นักข่าวเสี่ยงตกงานเพิ่ม. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2562 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-39176803
สมาร์ทเอสเอ็มอี. (2562). ปรับตัว “ธุรกิจโรงพิมพ์” ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอด. เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2562 จาก https://www.smartsme.co.th/content/12293
Agarwal, T. (2019). Evaluation of Print Media as a Medium of Advertisement with Respect to Consumer & Advertiser. Delhi: Doctoral Dissertation.
Dennstedt, B. (2016). Business model innovations in the digital publishing industry. Global Media Journal, 14(27). 261-280.
Ismail. M et.al. (2017). Digital Business Transformation and Strategy: What Do We Know So Far. Cambridge : Service Alliance.
Kiriba, T.W & Ishmail, N. (2017). Influence of Distribution Network Systems on Supply Chain Performance in Print Media Industry in Kenya: A Case of The Nation Media Group. International Journal of Supply Chain Management, 2(2), 60-75.
Küng. (2011). Managing strategy and maximizing innovation in media organizations. Managing media work, 3(1), 43-56.
Magadán M., & Rivas G. (2018). Digitization and business models in the Spanish publishing industry. Publishing research quarterly, 34(3), 333-346.
Mutiara, F. & Priyonggo, A. (2019). Digital disruption in print media: challenges of convergence and business models. Paris: International Symposium on Management.
Olson E.M et.al. (2018). The application of human resource management policies within the marketing organization: The impact on business and marketing strategy implementation. Industrial Marketing Management, 69(2), 62-73.
Putri F., & Aprilia M. P. (2019). Dynamic capabilities strategy for sustainability development in print media management. Retrieved 19 March 2019 frome https://www.researchgate.net/publication
Villi M. & Picard R G. (2019). Transformation and innovation of media business models. Making Media.