แนวทางการบริหารจัดการทรัพย์ตามแนวพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระพิภพ สีลสมฺปนฺโน (ใจดี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูพิพิธสุตาทร . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการทรัพย์, ตามแนวพระพุทธศาสนา, พุทธศาสนิกชน, อำเภอเวียงแหง, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

                บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องทรัพย์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ของพุทธศาสนิกชน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์ตามแนวพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร และลงพื้นที่ ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก และนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเรื่องทรัพย์ในพระพุทธศาสนา คือ ทรัพย์ที่เป็นสสารวัตถุและคุณธรรมภายใน 1.1) ทรัพย์ภายนอก หมายถึงทรัพย์ที่เป็นวัตถุได้แก่สิ่งของที่สังคมกำหนดเป็นของมีค่า ได้แก่ เงิน ทอง รัตนะ ประเภทต่าง ๆ อาหารเครื่องนุ่งห่ม และ บ้าน เรือน ที่ดิน 1.2) ทรัพย์ภายใน หมายถึง คุณธรรมภายใน คนส่วนมากจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งของที่มีคุณค่า มองเห็นได้ สามารถจับต้องได้ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ แต่ถ้าใช้ในทางที่ถูกต้องก็มีคุณประโยชน์ 2) ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ของพุทธศาสนิกชน อำเภอเวียงแหง ได้แก่ การได้รับผลกระทบต่าง ๆ คือ 2.1) ปัญหาการขาดความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน  2.2) ปัญหาการไม่รู้จักรักษาการทรัพย์ 2.3) ปัญหาการคบคนพาล 2.4) การใช้จ่ายในทางที่เป็นโทษต่อการดำเนินชีวิต 2.5) ปัญหาการใช้จ่ายลงทุนพืชเศรษฐกิจ 3) แนวทางการบริหารจัดการทรัพย์ตามแนวพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน อำเภอเวียงแหง ได้แก่ การนำหลักของทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 มาประยุกต์ใช้ และหลักอิทธิบาท 4 รวมถึงหลักโภควิภาค 4 ที่พุทธศาสนิกชนนำไปประยุกต์ใช้ ในการเก็บออมทรัพย์ การลงทุน ตามความเหมาะสม ได้รับความรู ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง และเกิดความมั่นคงในทรัพย์สิน และไม่ฝืดเคืองในการดำเนินชีวิตที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

References

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. (2546). ความยากจน สถานการณ์และบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

ประพันธ์ นึกกระโทก. (2557). ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2550). กระแสธรรม เพื่อชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภาพและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปริยัติธรรมธาดา (สถิต ถาวโร). (2544). อริยทรัพย์ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว). (2545). คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เชอรี่กราฟฟิค.

พระมหานรินทร์ นรากรนิธิกุล. (2545). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอริยทรัพย์ในพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม. (2535). พุทธศาสนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ธีระการพิมพ์.

อภิญญา เวชยชัย และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2546). เศรษฐศาสตร์การเมือง (การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส : กลุ่มคนจนและกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหาทางสังคม). กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.

อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/20/2020

How to Cite

สีลสมฺปนฺโน (ใจดี) พ. ., จันทร์แรง เ. . . ., & . พ. . . (2020). แนวทางการบริหารจัดการทรัพย์ตามแนวพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 39–51. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/241304

ฉบับ

บท

บทความวิจัย