กลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้แนวคิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ ภัทรยศพงศ์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วิเชียร รู้ยืนยง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, องค์กรแห่งการเรียนรู้, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร 22 รูป และครูผู้สอน 332 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 354 คน ซึ่งได้มาจากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) สุ่มแบบแบ่งชั้นหรือชั้นภูมิ (Stratifiled Random Sampling) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ เป้าประสงค์: สร้างพลังความร่วมมือในการการพัฒนามาตรฐานของสถานศึกษาให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดภายใต้การกำกับดูแลและสนับสนุนของหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่กลยุทธ์ที่ 1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพ กลยุทธ์ที่ 3 การปฏิบัติตามแผนสู่ผลงานคุณภาพตามาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 การยกระดับการประเมิน ผลและการติดตามตรวจสอบการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 5 การติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ที่6การจัดทำรายผลการประเมินตนเอง (SAR) กลยุทธ์ที่ 7 การเสริมศักยภาพพลังขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องครบวงจร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กฎกระทรวง การประกันคุณภาพ พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม135 ตอน11 ก หน้า 3 (23 กุมภาพันธ์ 2561).

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ชนกนาถ วงคำจันทร์. (2554). ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วิเชียร รู้ยืนยงและคณะ. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(1), 70-79.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ : Muti-level Analysis. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ บุญสูงเนิน. (2559). กลยุทธ์การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), .607-610.

Marquardt, M. J., & Reynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York: Irwin Professional Pub.

Pedler, M.et al.. (1998). The Learning Company: A Strategy for Sustainable Development. London: Mc Graw-Hill.

Senge,P.M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London: Century Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/20/2020

How to Cite

ภัทรยศพงศ์ ณ. . ., & รู้ยืนยง ว. . (2020). กลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้แนวคิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 230–242. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/241383

ฉบับ

บท

บทความวิจัย