การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวสตีมศึกษาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาครู
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, การออกแบบการเรียนรู้, สตีมศึกษา, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวสตีมศึกษาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาครูที่มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีการดำเนินการ 2 รอบ รอบที่ 1 ศึกษาปัญหา เอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนาหลักสูตร สร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย จากนั้นนำหลักสูตรและเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มนำร่องคือ นักศึกษาครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง รอบที่ 2 นำหลักสูตรและเครื่องมือที่มีคุณภาพไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครูครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่ม แบบกลุ่ม ในภาคเรียนที่ 1/2562 ทดสอบสมมุติฐานโดยเปรียบเทียบความแตกต่างกับเกณฑ์ที่กำหนดโดย One Sample t-test และศึกษาพัฒนาการโดย Repeated - Measure ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักสูตรที่เน้นการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวสตีมศึกษาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาครู มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.00/86.92 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) ประสิทธิผลของหลักสูตรศึกษาจากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ตามแนวสตีมศึกษาบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปรียบเทียบทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาครูหลังเรียน กับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และศึกษาพัฒนาการความตระหนักในคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาครูในช่วงเวลาก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน พบว่าระดับความตระหนักในคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างน้อย 1 คู่ (F = 178.49, df = 2, p < .001)
References
ข้อบังคับคุรุสภา. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 68 ง หน้า 18 (20 มีนาคม 2562) .
ชลธิชา ชิวปรีชา. (2554). การคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยใบตอง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล ไกรฤกษ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมศิลปะต่างรูปแบบโรงเรียนวัดดุสิตาราม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
ประสาท อิศรปรีดา. (2532). จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสอน. กรุงเทพมหานคร: นําอักษรการพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2558). กระบวนทัศน์การโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
วีระพงษ์ แสง - ชูโต. (2558). ปรัชญาวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: ภิรมย์กิจการพิมพ์.
สมหวัง มหาวัง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2561). องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก https://www.m-culture.go.th/suratthani/main. php?filename=index#article
อภิสิทธ์ ธงไทย. (2558). สะเต็มศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 13 ธัยวาคม 2560 จาก www.knw.ac.th/UserFiles/files/STEM.
อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2559). การถอดบทเรียน. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2558 จาก http://ibc.rid.go.th/cbi/learn1.html
Chantrasa, R. et al. (2016). Integration of value engineering and theory of inventive problem solving (TRIZ) for increasing the value of industrial products: case study of air-conditioner. KKU Engineering Journal, 43(S2), 254-258.
Dewey, J. (1952). The Educatinal Theory of John Dewey (1859-1952). Retrieved August 11, 2019, from http://www.newfoundations.com/GALLERY /Dewey.html
IMD World Competitiveness Yearbook. (2020). International Institute for Management Development. Retrieved
April 1, 2020, from https://www.etda.or.th/content/world-economic-forumranking2019.html
James, W. (1910). American Philosopher. Retrieved August 11, 2019, from http://www.trincoll.edu/depts/phil/philo/phils/wjames/html
Joyce, B. et al. (1984). Model of Teaching. (4th ed). Massachusetts: Allyn and Bacon.
Kim, Y. & Park, N. (2012). Development and Application of STEAM Teaching Model Based on the Rube Gddbery’s Invention. Retrieved August 12 , 2019, from https://www.scribd.com/document/160508224/2012-Kim-Y-Development-and-Application-of-STEAM-Teaching-Model-Based-on-the-Rube-Goldberg-s-Invention
Kwon, H. (2011). Research Trends on the Integrative Efforts in Technology Education: Reviews of the Relevant Journals. Secondary Education Research, 57(1), 245-274.
LUO Lingling et al. (2017). A Comparative Study on the Teaching Effects of TRIZ Courses for the Humanities. Asian Journal of Education and Training, 3(1), 25-29.
Pavel Livotov. (2008). TRIZ and Innovation Management. Retrieved May 11, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/242219907_TRIZ_and_Innovation Management
Thorndike, E. L. (1911). Animal intelligence: Experimental studies. New York: Macmillan.
Vennix, J. et al. (2018). o outreach activities in secondary STEM education motivate students and improve their attitudes towards STEM? International Journal of Science Education, 40(11), 1263-1283.
Vocational, W. & College, T. (2005). The Reconstruction of Practice Instruction System Based on TRIZ. Retrieved August 12, 2019, from https://pdfs.semanticscholar.org/cbcb/1800ef9c109b0530783829c85acc2541306d.pdf?_ga=2.235020929.1245275439.1596793104-1599075641. 1596793104
Yakman, Georgette George. (2008). STEAM Education: an overview of creating a model of integrative Education. Retrieved August 11, 2019, from http://www. iteaconnect.org/Conference/PATT/PATT19/Yakmanfinal 19.pd