การพัฒนาโปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์สำหรับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปรัชญา แก้วแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัทราวดี มากมี มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กนก พานทอง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน, โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์, นิสิตระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาโปรแกรม     เอเอสคิวทรีอาร์สำหรับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรี และศึกษาผลการใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ 2) เครื่องมือใช้วัดตัวแปรตาม ได้แก่ โปรแกรมทดสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล t - test ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ทำให้การอ่านมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านมากกว่าการอ่านแบบปกติและผลการตรวจสอบคุณภาพโปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ของผู้ทรงวุฒิอยู่ระดับดีมาก (ค่า CVI = 1.00) 2) ผลการทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านก่อนกับหลังใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรีผลวิจัยพบว่า คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านหลังใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ ( gif.latex?\bar{x} = 33.00, S.D.=2.51) มากกว่าผลคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านก่อนใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ ( gif.latex?\bar{x} = 22.75, S.D. = 2.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3) คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ มากกว่าคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมอีเลิร์นนิ่งและมากกว่าคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่อ่านด้วยหนังสือ  โดยคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านมากกว่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05

References

นฤพัชร มิลังค์ และคณะ. (2018). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การสอนอ่านแบบ SQ3R. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 108-117.

อุบลวรรณ ภวกานันท์. (2555). จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ahmad Asiri. (2017). The Effectiveness of Using SQ3R to Teach Read Skills. Asian Journal of Educational Research, 5(1), 1-6.

Burmister, L. E. (1978). Reading strategies for middle and secondary school teachers. Masachusetts: Addison-Wesley.

E.Bruce Goldstein. (2011). Cognitive Psychology. Cannada: inda Schreiber - Ganster.

Edmond, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied reference guide to research designs. United States of America: SAGE Publication Ltd.

Flavell, H. A. (2002). Cognitive development. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Flavell, H. A et al. (2002). Cognitive development. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Galotti, K. M. (2008). Cognitive psychology: In and out of the laboratory. Belmont: Wadsworth/Thomson.

P21 Partnership for 21st Century Learning. (2018). P21's Framework for 21st Century Learning. เรียกใช้เมื่อ 28 October 2018 จาก http://www.p21.org/our -work /p21-framework

Robert J Sternberg, & Karin Sternberg. (2012). Cognitive Psychology. Wadsworth: Cengage Learning.

Robinson, F. P. (1961). Effective study. New York: Harper & Brothers.

Zinah Mahdi Habeeb & Salam Hamid Abbas. (2018). The Effectiveness of SQ3R Strategy In Promoting Iraqi Efl Students' Reading Comprehension. International Journal of Research in Social Sciences and Humanities, 8(4), 72-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/22/2020

How to Cite

โยธะพันธ์ อ., แก้วแก่น ป. ., มากมี ภ., & พานทอง ก. . (2020). การพัฒนาโปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์สำหรับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 299–312. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/244441

ฉบับ

บท

บทความวิจัย