รูปแบบการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ธีร์ดนัย กัปโก มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พงษ์เมธี ไชยศรีหา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สัญญา เคณาภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ, ระบบอิเล็กทรอนิกส์, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพการบริหารจัดการของระบบอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมิน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ของมหาวิทยาลัย จำนวน 750 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นบรรพชิต อายุ 18-30 ปี ส่วนใหญ่เป็นนิสิต ลักษณะการได้รับสื่อข้อมูลของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลผ่านทาง Facebook โดยระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การวัดความสัมพันธ์มี ความสัมพันธ์เชิงบวก โดยมีทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงและมีค่าสัมประสิทธิ์พหุคุณมีความสัมพันธ์ต่อการมีอิทธิพลต่อการจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้าง คือ gif.latex?x^{2} = 128.219, df = 69, P-value = 0.071, CFI = 0.982, TLI = 0.973, SRMR = 0.043, RMSEA = 0.013, gif.latex?x^{2} /df =1.858,<2 ปัจจัยขีดความสามารถของระบบ ส่งผลทางตรงต่อปัจจัยหุ้นส่วนของผู้มีส่วนได้เสียปัจจัยความร่วมมือของผู้ใช้ระบบ            ส่งผลทางตรงต่อปัจจัยหุ้นส่วนของผู้มีส่วนได้เสีย ปัจจัยขีดความสามารถของระบบ           ส่งผลทางอ้อมต่อการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านปัจจัยหุ้นส่วนของผู้มีส่วนได้เสีย ปัจจัยความร่วมมือของผู้ใช้ระบบ ส่งผลทางอ้อมต่อการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านปัจจัยหุ้นส่วนของผู้มีส่วนได้เสีย 3) รูปแบบการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จารุณี ภัทรวงษ์ธนา และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชุมชนกึ่งเมืองตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 11 (4), 128 - 146.

ธัญวรัตน์ กระจ่าง. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2 (2), 37 - 45.

ภาวิช ทองโรจน์. (2560). สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2561 จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/catalog_h/StdEdu/FormCurr/PavitSpeak.pdf

เรวัต แสงสุริยงค์. (2559). บนเส้นทางการพัฒนาในสังคมไทย: ยุคก่อนการปฏิรูประบบราชการ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24 (46), 35 - 57.

ศิริ พันท์ทา. (2562). การสร้างความพึงพอใจต่อการให้บริการในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบัน. Journal of Modern Learning Development, 4(2), 32 - 47.

สุทธิพงษ์ อุพลเถียร และคณะ. (2560). การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4 (1), 73 - 84.

อุษา ส่งศรี และคณะ. (2560). การรับรู้และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(2), 73 - 84.

Bruce Rocheleau. (2006). Public Management Information Systems. USA: Integrated Book Technology.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins Publishers.

Stufflebean, D. L. (2005). CIPP model (Contexy, Input, Process, Product). CA: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/15/2020

How to Cite

กัปโก ธ. ., ไชยศรีหา พ. ., & เคณาภูมิ ส. . (2020). รูปแบบการบริหารจัดการระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 449–462. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/244533

ฉบับ

บท

บทความวิจัย