ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา จันทร์พราหมณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

พนักงานระดับปฏิบัติการ, นิคมอุตสาหกรรมชลบุรี, ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรีจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย ซึ่งได้มาจากการคำนวณหาขนาดตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane ที่มีระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน 5% ใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิดแบบมาตราส่วนประมาณค่าและใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน  ทางเดียว หากพบความแตกต่างเป็นรายกลุ่มจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างรายกลุ่มเป็นรายคู่อีกครั้งโดยใช้การทดสอบด้วยวิธีการของ Scheffe และวิเคราะห์คำตอบแบบปลายเปิดโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25 – 29 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงาน 1 – 5 ปี ทักษะการอ่านมีระดับความต้องการมากที่สุด โดยใช้ในการอ่านอีเมลและเอกสารที่ระบุคุณสมบัติหรือรายละเอียดสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ ด้านการฟังและด้านการพูด ใช้ในการเข้าร่วมบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับงาน ด้านการเขียน ใช้ในการเขียนอีเมลภาษาอังกฤษถึงหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน กลุ่มตัวอย่างซึ่งมีความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 25 – 29 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท  มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 16 ปีขึ้นไป เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานซึ่งจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ด้านเพศ ไม่มีความแตกต่างกัน พนักงานอายุระหว่าง 25 – 29 ปี มีความต้องการมากกว่าพนักงานอายุระหว่างอายุ 35 – 39 ปี วุฒิการศึกษาระดับ ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท มีความต้องการมากกว่าวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่า ปวส. พนักงานที่มีประสบการณ์ 1 – 5 ปี มีความต้องการมากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 1 ปี และ 6 – 10 ปี และพนักงานที่มีประสบการณ์ 11 – 15 ปี มีความต้องการมากกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ 6 – 10 ปี

References

กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2559). การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 146 - 159.

กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ. (2562). รายงานและสถิติการลงทุนจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2562 (มกราคม-ธันวาคม). เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.boi.go.th/upload/content/Q4%202562_5e3b87320a255.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

มณี จิระนภากุล. (2539). A survey of language needs for communication by Thai engineers. Bangkok: Department of Applied Linguistics, Graduate School Mahidol University.

โรงงานอุตสาหกรรมไทย. (2554). นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://thailandindustry.blogspot.com/2012/03/blog-post_ 19.html

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. (2563). จำนวนโรงงาน. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 จาก www.shorturl.at/mBNST

อานนท์ ไชยสุริยา. (2552). การใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและ ปิโตรเคมีในภาคตะวันออกของประเทศไทย. ใน การจัดประชุมวิชาการ เวทีวิจัยมนุษย์กับสังคม. พริกหวานการพิมพ์.

Arapoff, N. (1967). Writing: A thinking process. TESOL Quarterly, 1(5), 119-120.

Crystal, D. (2546). English as a global language. Cambridge: Cambridge University Press.

Hutchinson,T.& Waters, A. (1994). English for Specific Purposes. Cambridge : Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/19/2020

How to Cite

จันทร์พราหมณ์ ก. . (2020). ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 425–436. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/244851

ฉบับ

บท

บทความวิจัย