การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจ ในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • พลอยประกาย ฉลาดล้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • รุจา แก้วเมืองฝาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • สถิรกานต์ ทั่วจบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • นวลอนงค์ ศรีสุกไสย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การส่งเสริมแรงจูงใจ, การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพการณ์การไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือสตรีอายุ 30 - 60 ปีที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 15 คน 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจกลุ่มตัวอย่าง 10 คน  3) ประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจกลุ่มตัวอย่างคือสตรีที่ไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 20 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ 1) แนวทางการสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก 3) แบบสอบถามแรงจูงใจในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก      4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา   .95 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา .81 - .98 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) สตรีที่ไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีทัศนคติเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเป็นเรื่องที่น่าอาย น่ากลัว ขาดความรู้ และไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว 2) รูปแบบส่งเสริมแรงจูงใจ ได้แก่ การให้ความรู้   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการชักจูงจากครอบครัว 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจ พบว่า ก่อนใช้รูปแบบมีความรู้เฉลี่ย 13.4 คะแนน หลังใช้รูปแบบมีความรู้เฉลี่ย 17.7 คะแนน ทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ด้านแรงจูงใจในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ย 1.74 หลังใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ย 2.74 ทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางเวชปฏิบัติ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.

จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์ และณัฐวุฒิ กันตถาวร. (2556). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทัศนคติ ในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปกติ. วารสารสภาการพยาบาล, 28(2), 75 - 87.

ศิริวรรณ จันทร์แจ้ง และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิม. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 52 - 62.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2561). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2560 HOSPITAL-BASED CANCER REGISTRY. กรุงเทพมหานคร: พรทรัพย์การพิมพ์ จำกัด.

สมชาย เนื่องตัน. (2562). บทความสุขภาพ: การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=212

อรวรรณ จุลวงษ์. (2557). แรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมสุขภาพของพลทหารประจำกองการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 28 - 32.

Anansirikasem, P. & Karuncharernpanit, S. (2013). Influenced Factors towards Cervical Cancer Screening in Nakhon Phathom province, Thailand. Retrieved December 12, 2019, from https://nursing.iserl.org/ckr/index. php/researcher/Profile/rs_popup/1015

Bray, F. et al. (2018). Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA CANCER J CLIN, 68(2018), 394 - 424.

Maddux, J. E. & Rogers, R. W. (1983). Protection Motivation and Self-Efficacy: A Revised Theory of Fear Appeals and Attitude Change. Journal of Experimental Social Psychology, 19(5), 469 - 479.

Norman, P. et al. (2005). Protection Motivation Theory. Retrieved December 15, 2019, from http://doc.utwente.nl/53445/1/K469

O’Donnell, M. P. (2002). Health promotion in the workplace. (3rd ed.). Albany, NY: Delmar.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/15/2020

How to Cite

อนันต์สิริเกษม พ. . ., ฉลาดล้น พ. ., แก้วเมืองฝาง ร. . ., ทั่วจบ ส. ., & ศรีสุกไสย น. . (2020). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจ ในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 248–265. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/245254

ฉบับ

บท

บทความวิจัย