ผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่านขั้นสูงของนักศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่าน, บทเรียนออนไลน์, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่านขั้นสูงของนักศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการอ่านขั้นสูง จำนวน 29 คน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนออนไลน์การอ่านภาษาอังกฤษที่ผ่านการตรวจสอบในด้านความถูกต้องของเนื้อหา ไวยากรณ์ หลักการออกแบบ และความเหมาะสมกับผู้เรียนจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 45 เว็บไซต์ เกี่ยวกับการเข้าใจรายละเอียด การหาหัวเรื่องและใจความสำคัญ และเรื่องการใช้คำอ้างอิง โดยใช้บทเรียนออนไลน์จำนวน 15 บทเรียนในแต่ละประเด็น และใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับความพึงพอใจในการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนการอ่านภาษาอังกฤษผ่านบทเรียนออนไลน์ของผู้เรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 และผลจากแบบสอบถามพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมผ่านการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.71) และนักศึกษาแสดงความพึงพอใจด้านบทเรียนซึ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินมากที่สุด (
= 4.43, S.D. = 0.62) และข้อมูลซึ่งได้จากการตอบแบบสอบถามปลายเปิดพบว่า นักศึกษาต้องการเรียนกับบทเรียนออนไลน์ที่มีการเพิ่มเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ให้มากขึ้นและใช้เวลาในการเรียนเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษในภาคการศึกษาถัดไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ร.ส.พ.
ชวนิดา สุวานิช. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีการศึกษาชุดเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษาโดยใช้บทเรียนออนไลน์ 3 รูปแบบนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชวาล แพรัตกลุ. (2516). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วัฒนพานิช.
ถนอมเพ็ญ ชูบัว. (2554). การพัฒนาการอ่านออกเสียงการอ่านเพื่อความเข้าใจ ด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA). เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=88808
ทักษิณา สวนานนท์. (2557). คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การ ค้าคุรุสภา.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
ศิริชัย นามบุรี. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานในระบบอีเลิร์นนิ่ง. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศิริภรณ์ โทอ่อน. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายเรื่องระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมบัติ กาญจนารักพงศ์. (2549). นวัตกรรมการศึกษาชุดคู่มือการประเมินทักษะการคิด ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สิรินธร วัชรพืชผล และจงกล จันทร์เรือง. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเทคนิคการเรียนรู้แบบปรับเหมาะกับความสามารถของนักเรียน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน The Eleventh National Conference on Computing and Information Technology. เรียกใช้เมื่อ 21 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.scribd.com/doc/270448822/ All-papers-in-NCCIT2015
สุธาพร โมกข์บุรุษ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโดยใช้นิทานนานาชาติเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 5(1), 358-368.
สุพัตรา เกษมเรืองกิจ. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องนพบุรีศรีนครพิงค์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อเนก ประดิษฐ์พงษ์. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง ชีวิตและวิวัฒนาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
อรรณพ บัวแก้ว. (2557). การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนสำหรับการเรียนแบบ e-Learning วิชา การออกแบบตกแต่งภายใน เรื่อง หลักการเขียนทัศนียภาพเบื้องต้น. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2562 จาก http://dcms.thailis.or.th/dcms
อัจฉรา อุรัชโนประกร. (2552). การสร้างบทเรียนออนไลน์ แบบกิจกรรมกลุ่มโดยวิธีการเรียนแบบผสมผสาน เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Brain, P. B. (2000). Analysis of Group Problem-Solving Tasks in a Geometry Course for Teachers Using Computer Mediated Conferencing. Retrieved July 9, 2019, from http://wwwlib.imi.com/dissertations/fullcit/9962225
Campbell, L. (1999). Historical linguistics: An introduction. Cambridge, MA: MIT Press.
Lynch, M. (2008). Teaching the English language: 21st century skills EFL teachers must have. Retrieved December 26, 2019, from http://searchwarp.com/ swa323770.htm
Picton, I. (2014). The impact of eBooks on the reading motivation and reading skills of children and young people: a rapid literature review. London: National Literacy Trust.