การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชีและความสำเร็จด้านการเงินของธุรกิจโรงแรม ขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ยุพา สะรุโณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความไม่แปรเปลี่ยน, คุณภาพข้อมูลทางบัญชี, ความสำเร็จด้านการเงิน

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชีและความสำเร็จด้านการเงินของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการทบทวนเอกสารตำรางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเก็บรวบรวมข้อมูลจากธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทย ที่ขึ้นทะเบียนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างผู้วิจัยใช้โปรแกรม LISREL 9.30 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพข้อมูลทางบัญชีและความสำเร็จด้านการเงินของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.7 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 63.04 ประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 16 ปี ร้อยละ 39.44 ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจ จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 27.64 รูปแบบธุรกิจเป็นบริษัทจำกัดร้อยละ 55.28 จำนวนพนักงานน้อยกว่า 30 คนร้อยละ 70.19 ห้องพักตั้งแต่ 30 - 100 ห้องร้อยละ 55.90 รายได้ต่อเดือนมากกว่า 90,001 บาท ร้อยละ 31.99 ค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 36.34 รูปแบบโครงสร้างเดียวกันมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลแต่ค่าพารามิเตอร์ภายในโมเดล มีความแตกต่างกันหรือมีความแปรเปลี่ยนบางส่วน (Partial Variance) ระหว่างเส้นอิทธิพลทักษะทางวิชาชีพบัญชี (PAS) จรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี (PEA) และการบริหารจัดการฝ่ายบัญชี (MA) สำหรับข้อมูลความสำเร็จด้านการเงิน (FS) ทักษะทางวิชาชีพบัญชี (PSA) การบริหารจัดการฝ่ายบัญชี (MA) โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดล Chi-Square = 668.95, df = 208, /df = 5.82, SRMR = 0.10, RMSEA = 0.12, NFI = 0.87, NNFI = 0.86, CFI = 0.89

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). สถิตินักผู้ประกอบการ. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2562 จาก http://www.tourism.go.th.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1622

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทและห้องชุด. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก http://www.efe.or.th/project.php

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/download/article/article_20170509152835.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). รายชื่อธุรกิจโรงแรม. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2562 จาก http://econtent.tat.or.th/ReportWeb/views/g08/hotel-list-table. xhtml;jsessionid=0ejaNKEv8+XEeAqzDEPcTPB.undefined

กุสุมา ดำพิทักษ์ และคณะ. (2556). นักบัญชีที่องค์การธุรกิจต้องการ “เก่ง + ดี”. เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2561 จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/190.

จิรัฐ ชวนชม และนงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร. (2556). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารธุรกิจการท่องเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยว ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(3), 1 - 16.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2554). การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดระหว่างกลุ่มผู้ถูกวัดด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 1(1), 69 - 80.

นภดล ร่มโพธิ์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จของระบบการวัดผลการปฏิบัติงานองค์กรกับความสำเร็จทางการเงินขององค์กร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(16), 43 - 50.

นภดล ร่มโพธิ์ และมนวิกาผดุงสิทธิ์. (2557). เครื่องมือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุ๊ป จำกัด.

พุทธชาด ลุนคำ. (2562). แนวโน้มธุรกิจโรงแรม. เรียกใช้เมื่อ 24 มิถุนายน 2562 จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/f24bbbf8-fa88-40cb-a408-f43900993cd7/THQIR_TOUR_4Q17_TH.aspx

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2561 จาก http://www.fap.or.th/files/st_eduit/3pdf.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 3 เรื่องทักษะทางวิชาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2562 จาก http://www.fap.or.th/files/st_eduit/3.pdf.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrical, 16(3), 297 - 334.

Everaert, P. et al. (2010). Using transaction cost economics to explain outsourcing of accounting. Small Business Economics, 35(1), 93 - 112.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. USA: Hall International.

Ismail, K. & Isa, C. (2011). The Role of Management Accounting System In Advanced Manufacturing Environment. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 5(9), 2196 - 2209.

Jöreskog, K. G. & Sörbom, D. (2012). LISREL 9.1: LISREL syntax guide. Chicago: Scientific Software International, Inc,.

Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.

Melia, D. (2010). Towards Performance Measurement in Hotels:an Incremental Approach. Retrieved March 19, 2019, from https://citeseerx.ist.psu.edu/ viewdoc/download?doi=10.1.1.1018.7569&rep=rep1&type=pdf

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/15/2020

How to Cite

สะรุโณ ย. ., & เพ็ญวุฒิกุล ป. . (2020). การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชีและความสำเร็จด้านการเงินของธุรกิจโรงแรม ขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 65–80. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/245750

ฉบับ

บท

บทความวิจัย