การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัด ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการและความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจ
คำสำคัญ:
คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ, ทุนทางสังคม, ความสามารถเชิงพลวัต, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, เครื่องมือวัดบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดปัจจัยแฝง 2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดปัจจัยแฝง ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ และความได้เปรียบทางการแข่งขันในทางธุรกิจ ในกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม และวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย เริ่มต้นใช้การตรวจสอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ในปัจจัยแฝง 4 ด้าน 15 ปัจจัยสังเกต ตามกรอบทฤษฎีฐานทรัพยากร (Resource - Based View) มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 ตัวอย่าง จำนวนคำถามทั้งหมด 69 ข้อ ในการวิเคราะห์ได้ผลดังนี้ 1) ดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน สรุปผลการวิจัยได้ว่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สรุปความเที่ยงเชิงเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดี 2) ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง ปัจจัยแฝง 4 ด้าน มีน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.62 - 0.96 ที่ค่าสัดส่วนของความน่าจะเป็น (Probability value) p = 0.054 มีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างในเกณฑ์ยอมรับได้ถึงเกณฑ์ดี 3) ความเที่ยงเชิงสภาพ ปัจจัยชี้วัด 15 ตัวมี 2 ปัจจัยชี้วัดมีค่า 0.45 - 0.57 อยู่ในเกณฑ์ปานกลางและมีปัจจัยชี้วัด 13 ปัจจัยมีค่า 0.62 - 0.96 อยู่ในเกณฑ์ค่อยข้างสูงถึงสูง ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.01 องศาอิสระเท่ากับ 52 4) อำนาจจำแนกมีความสัมพันธ์ร่วมระหว่าง 0.57 - 0.89 มีอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ดี ถึงดีมาก 5) ความเชื่อมั่นได้ค่า Cronbach's Alpha อยู่ระหว่าง 0.96 - 0.97 และทั้งฉบับได้ค่า 0.96 แสดงว่าคำตอบกับคำถาสอดคล้องกันอย่างมาก และในการพัฒนาเครื่องมือวัดทำโดยการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์เครื่องมือวัด มาพิจารณาในการแก้ไขข้อคำถามหรือใช้ในการตัดคำถามบางข้อที่ไม่สอดคล้องเชิงประจักษ์ออกจากแบบสอบถาม
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
กัลยา วานิชยบัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัดสามลดา.
บุญธรรม จิตต์อนันต์. (2540). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รวีวรรณ เล็กศรีสกุล และคณะ. (2013). การพัฒนาเครื่องมือวัด คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้จัดการร้านสะดวกซื้อในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. วารสาร ปัญญาภิวัฒน์, 4(2013), 23-34.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2560). รายงานประจำปี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Chen, X. & Siau, K. (2012). Effect of business intelligence and IT infrastructure flexibility on organizational agility. In Proceedings of the the 33rd International Conference on Information Systems. Orlando, FL. AIS.
Griffith, D. A. et al. (2006). The performance implications of entrepreneurial proclivity: A dynamic capabilties approach. Journal of Retailing, 82(1), 51-62.
Hitt, M. A. et al. (2001). Direct and moderating effects of human capital on strategy and performance in professional service firms: A resource-based perspective. Academy of Management journal, 44(1), 13-28.
Lumpkin, G. T. & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. Academy of management review, 21(1), 135-172.
Mahmood, R. & Hanafi, N. (2013). Entrepreneurial orientation and business performance of women-owned small and medium enterprises in Malaysia: Competitive advantage as a mediator. International Journal of Business and Social Science (IJBSS), 4(1), 82-90.
Polit, D. F. et al. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity Appraisal and recommendations. Research in Nursing & Health, 30(4), 459-467.
Putnam, R. D. (2000). Bowling alone: America’s declining social capital. In Culture and politics. Springer.
Schenkel, M. T. & Garrison, G. (2009). Exploring the roles of social capital and team-efficacy in virtual entrepreneurial team performance. Management Research News, 32(6), 525-538.
Teece, D. J. (2007). Explicating dynamic capabilities: the nature and microfoundations of (sustainable) enterprise performance. Strategic management journal, 28(13), 1319-1350.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introduction analysis. New York: Harper and Row Publications.