การพัฒนาจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้น ในรายวิชาการพัฒนาความเป็นครู
คำสำคัญ:
การพัฒนาจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ, ประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู, รูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้น, การพัฒนาความเป็นครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้น เพื่อพัฒนาจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู 2) เปรียบเทียบระดับจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้นกับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้นกับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ที่ศึกษารายวิชาการพัฒนาความเป็นครู ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้นและแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ 2) แบบประเมินจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3) แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าประสิทธิภาพกิจกรรมการสอน E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้น มีประสิทธิภาพ 93.40 / 88.27 2) ระดับจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู กลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้นสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ 3) ระดับเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู กลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้นสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติ
References
กระแส มิฆะเนตร. (2546). ผลการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลําดวน จังหวัดสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง หน้า 72.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง หน้า 18.
ดวงเดือน พินสุวรรณ์. (2561). “ปัญหาคุณธรรมจริยธรรมของครู” . ใน เอกสารการสอนวิชาคุณธรรมจริยธรรม ของครู หน่วยที่ 14 คุณธรรมจริยธรรมสำหรับครู. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิคม สิงห์ทอง. (2552). การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมภูมิปัญญา ของไทยและนานาประเทศ ประกอบกิจกรรมการเรียนร่วมมือเทคนิคกลุ่มสืบค้น กลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มัธยมศึกษาปีที่ 6. ใน รายงานการวิจัย. โรงเรียนท่าคนโทวิทยาคาร.
นิตยา ชังคมานนท์. (2554). การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจีไอที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทํางานร่วมกัน ในรายวิชา ส.503 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมจิต ขันธุปัทม์. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์เรื่อง แผนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค GI. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาการ. (2559). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “ปัญหาครู: ปัญหาที่รอการปฏิรูป” . กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2561). ผลการเรียนรายวิชา 02143601 การพัฒนาความเป็นครู. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุวรรณมาลี นาคเสน. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอน Group Investigation เรื่องวงกลม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู. (2561). เอกสารการสอนรายวิชาการพัฒนาความเป็นครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Ivy Geok-Chin Tan and Others. (2005). Students’ Perceptions of Learning Geography through Group Investigation in Singapore. International Research in Geographical and Environmental Education, 14 (4), 261-276.
Sharan, S. & Others. (2013). The Group Investigation approach to cooperative learning International Handbook of Collaborative Learning. New York: Routledge.
Slavin, R. E. (2010). Instruction based on cooperative learning, In R Handbook of Research on Learning and Instruction. London: Taylor and Francis.
Tan, I.G.C. (2004). Effect of cooperative learning with group investigation on secondary students achievement, motivation, and perceptions. Retrieved June 2020, 10, from from.http://www.acis.nie.edu.sg/nieacis/libris/ sources/ereaources/doctopatethesis_detail.do?selectIndex=t&callNo= lb1032%20Tan&auther%20Ivy%20Geok%20 Chin.
Tiong, H.B. and Aun, T.K. (2004). Using Group Investigation (GI) to Develop in Service teacher’ Pedagogical Content Knowledge. เรียกใช้เมื่อ 2020 June 10 จาก from http://72.14.203.104/search?q=oYuUjT7RcgJ: www.iasce. net/Conferen ce2004/23June/Boontiong/IASCE%25202004 %2520Con% 2520Full%2520Paper.doc +sharan+Group+Investigation +thesis&hl=th.