การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความรับผิดชอบของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ในรายวิชาคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, คุณลักษณะความรับผิดชอบ, กระบวนการกระจ่างค่านิยม, ระบบคู่สัญญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความรับผิดชอบ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาผลของการใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความรับผิดชอบ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 58 คน ได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญาและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ทั้ง 2 แผน มีจำนวน 5 หน่วยเรียน รวม 30 คาบ 15 สัปดาห์ 2) แบบวัดคุณลักษณะความรับผิดชอบ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และค่าอำนาจจําแนกอยู่ระหว่าง 0.28 - 0.84 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบ t - test ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 2) คุณลักษณะความรับผิดชอบ ของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา สูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกระจ่างค่านิยมผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
จินตนา วิไลชนม์ และประสาท เนืองเฉลิม. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 73-82.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2563). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2563 จาก https://www.google.com/ url?sa=t&rc t=j&q=&esrc =s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwik056 WgszrAhUgIbcAHZGZCsEQFjAMegQIBBAB&url=https%3A%2F%2Fwww.ms.src.ku.ac.th%2Fschedule%2FFiles%2F2553%2FOct%2F1217086.doc&usg=AOvVaw14u6Qd6LLhff9Crh1ZaR62
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด PDCA และ education 3.0. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 174-193.
สกล สุขสวัสดิ์ และมนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2560). การพัฒนาค่านิยม ความรักชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ที่จัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการกระจ่างค่านิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบัภาษาไทย) สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1040-1059.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2561). ผลการเรียนรายวิชา 02143602 คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพครู. ปทุมธานี: สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู-ฉบับปรับปรุง 2560. (2560). เอกสารหลักสูตรรายวิชา คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Justin, M.P. & Suganya, D. (2016). Values Clarification In Education. National Conference on “Value Education Through Teacher Education”, 1(2), 2395 - 2396.
Kirschenbaum, H. (2013). Values Clarification in Counseling and Psychotherapy: Practical Strategies for Individual and Group Settings. Retrieved March 15, 2020, from https://oxford.universitypressscholarship.com/view/10.1093 /acprof:oso/9780198293309.001.0001/acprof-9780198293309-chapter-8?print=pdf
Lisievicia, P. & Andronieb, M. (2016). assessing the effectiveness of values clarification techniques in moral education. in Future Academy’s Multidisciplinary Conference 2016. Future Academy’s Multidisciplinary Conference.
Miller, M. (2020). Teaching and Learning in Affective Domain. Retrieved March 15, 2020, from http://epltt.coe.uga.edu/
Polit, D. F. & Beck, C.T. (2012). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. Philadelphia: Lippincott Williams& Wilkins.
Raths, L. E., et al. (1966). Values and Teaching. Columbus: Merrill Publishing Company.
Simon, S.B. et al. (2009). Values Clarification: A Practical, Action – Directed Workbook. New York: Hachette Book Group.
Wilma, S. R. (2019). Values Clarification Approach Approaches and Strategies in Teaching Values Education The National Center for Teacher Education. Manila : Philippine: Normal University.