ความต้องการและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง

ผู้แต่ง

  • กาญจนา จันทร์พราหมณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ความพึงพอใจ, การเรียนการสอน, ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ, ปริญญาตรี

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความต้องการและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิดกับนักศึกษาจำนวน 364 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างเป็นรายกลุ่มจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบอีกครั้งเป็นรายคู่โดย ใช้วิธีการทดสอบของ Scheffe และวิเคราะห์คำตอบแบบปลายเปิดโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าหรือเท่ากับ 3.00 โดยภาพรวม นักศึกษาต้องการให้ผู้สอนอธิบายโครงสร้างไวยากรณ์ทีละประเด็นอย่างละเอียด และพึงพอใจที่ผู้สอนช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ในงานเขียนรายบุคคล ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการและความพึงพอใจด้านเพศไม่แตกต่างกัน ด้านความต้องการ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ต้องการมากกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าหรือเท่ากับ 3.00 ต้องการมากกว่า นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 และระหว่าง 2.50 - 2.99 ด้านความพึงพอใจ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 พึงพอใจมากกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 พึงพอใจมากกว่า นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.50 - 2.99 ผลการวิเคราะห์คำตอบแบบปลายเปิด พบว่าส่วนใหญ่ผู้สอน สอนตามบทเรียนในหนังสือ โดยมีการยกตัวอย่าง แบบทดสอบ และแบบฝึกหัด ส่วนนักศึกษาต้องการให้ผู้สอนใช้เกมหรือสื่อประกอบการสอนที่หลากหลาย สนุกสนาน ไม่เครียด และไม่น่าเบื่อ

References

กระทรวงแรงงาน. (2555). แผนพัฒนากำลังคนในระดับประเทศ พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล.

กลุ่มงานหลักสูตรและพัฒนาคณาจารย์. (2558). รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กองบริการการศึกษา. (2563). จำนวนนักศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มงานทะเบียนและสถิตินักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

กาโสม หมาดเด็น. (2559). ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและการจัดการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เกวลี ผังดี และพิมพ์รดา ครองยุติ. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นันทนัช ตนบุญ. (2560). วิเคราะห์แนวการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ณ มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัย มหาวิทาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บัณฑิต อนุญาหงส์. (2559). ความสามารถการเรียนภาษาอังกฤษ ความต้องการด้านภาษา ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ และทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น. Veridian E - Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 3716 - 3734.

ประชาชาติธุรกิจ. (2559). สกอ.เอาจริง! คลอดประกาศบังคับมหาลัยเทสต์ภาษาอังกฤษ น.ศ.ก่อนจบ ใส่ผลสอบในทรานสคริปต์. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2559 จาก http://www. prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461057644.

เยาวลักษณ์ ยิ้มอ่อน. (2557). การใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพของบัณฑิตไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 191 - 204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2020

How to Cite

จันทร์พราหมณ์ ก. . (2020). ความต้องการและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 316–333. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/245947