สุขชีวีวิถีพุทธในชุมชนเมืองยุค 4.0: กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน

ผู้แต่ง

  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อำนาจ บัวศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ชุมชนเมืองยุค 4.0, สุขชีวีวิถีพุทธ, กระบวนการมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียนและออกแบบกิจกรรมโครงการสุขวิถีพุทธในชุมชนเมือง ยุค 4.0 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน 2) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการสุขชีวีวิถีพุทธในชุมชนเมือง ยุค 4.0 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเยาวชน ศูนย์การเรียนรู้ วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร จำนวน 128 คน และกลุ่มวัยผู้ใหญ่ในโครงการจิตประภัสสร จังหวัดอยุธยา จำนวน 34 คน เลือกเป้าหมายแบบตามวัตถุประสงค์ (Purposeful Sampling) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการพัฒนาตน แบบวัดความสุขเชิงพุทธ การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1) จากการถอดบทเรียน ปัจจัยภายนอกแห่งความสำเร็จของเยาวชน ได้แก่ การสร้างพื้นที่ทางกายภาพ กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาพื้นที่ทางสังคม การเรียนรู้และกิจกรรมในการสร้างปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ และ ผู้ใหญ่ ได้แก่ สถานที่สัปปายะ หลักสูตรไม่เคร่งครัด ระยะเวลาเหมาะสมและเทคนิคการสอนของวิทยากร 2) การออกแบบกิจกรรม พบว่า กลุ่มเยาวชน มี 10 กิจกรรม 4 มิติ ได้แก่ การพัฒนาตนด้านกาย สังคม จิตใจและปัญญา ตัวบ่งชี้ 25 ตัวมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = .04, df = 2, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, RMR = 0.003) และกลุ่มผู้ใหญ่ มี 6 กิจกรรม 4 องค์ประกอบ คือ สุขทางกาย สังคม จิตใจและปัญญา ตัวบ่งชี้ 46 ตัวมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = .70, df = 1, GFI = 0.99, AGFI = .97, RMR = 0.009) 3) ผลสัมฤทธิ์โครงการพบว่า หลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มเยาวชนมีคะแนนการพัฒนาตนเพิ่มขึ้นและกลุ่มวัยผู้ใหญ่มีคะแนนความสุขเพิ่มขึ้น

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. (2560). ค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของสามเณร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 39-55.

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. (2563). ผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสุขชีวีวิถีพุทธสำหรับเยาวชนในศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 34-52.

จงลักษณ์ เผือกผิววงศ์ และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวัน:ศึกษากรณีผู้ปฏิบัติธรรมวัดคู้บอน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 156-159.

ประเวศ วะสี. (2542). ยุทธศาสตร์ชาติความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2542). การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตหรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2556). โยนิโสมนสิการ: วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: ปัญญาประดิษฐาน.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). สถาบันพระสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). การเสริมสร้างคุณลักษณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2561). การพัฒนากิจกรรมเพื่อสร้างชีวสุขตามแนวทางการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม. ใน รายงานการวิจัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์). (2561). รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี และคณะ. (2541). วิมุตติมรรคแปล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

พระราชวรเมธี และคณะ. (2560). การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2565 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. เรียกใช้เมื่อ 22 มกราคม 2563 จาก http://www.buddhism4.com/web/index.php/9-1/5-2017-10-21-19-16-16

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ฉบับที่ 12. เรียกใช้เมื่อ 22 มกราคม 2563 จาก http://plandiv.mcu.ac.th/?page_id=109

สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์. (2562). ผลของการฝึกสติและคิดบวกที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

อุบล เลี้ยววาริณ. (2555). ผลการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมตามแนวพุทธ เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Carmody, J. & Baer, R. (2008). Relationships between mindfulness practice and levels of mindfulness, medical and psychological symptoms and well-being in a mindfulness-based stress reduction program. Journal of Behavioral Medicine, 31 (1), 23-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2020

How to Cite

ภูวชนาธิพงศ์ ก. ., & บัวศิริ อ. . (2020). สุขชีวีวิถีพุทธในชุมชนเมืองยุค 4.0: กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 403–419. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/246514