รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันทนีย์ แสนภักดี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สัญญา เคณาภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนาสมรรถนะ, บุคลากรสายวิชาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 347 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการสัมภาษณ์เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้ 1.1) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร (Adjusted R Square = .009) 1.2) ปัจจัยวินัยและการพัฒนาตนเอง (Adjusted R Square = .022) 1.3) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร (Adjusted R Square = .022) และ 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยองค์การ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร การส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา นโยบายของมหาวิทยาลัย และการสื่อสารภายในองค์กร 2.2) ปัจจัยหนุนเสริม มี 4 ปัจจัย ได้แก่ การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ คลินิกวิจัยและตำแหน่งทางวิชาการ กองทุนพัฒนาบุคลากร พี่เลี้ยงทางวิชาการ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทน 2.3) ปัจจัยบุคคล 4 ปัจจัย ได้แก่ เจตคติต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ วินัยและการพัฒนาตนเอง และความผูกพันต่อองค์กร

Author Biography

ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน , มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต

สาขารัฐประศาสนศาสตร์

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

References

กฤษฎา วัฒนศักดิ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

จันทนันท์ จารุโณปถัมป์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของบุคคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, 4(2), 208 - 231.

ณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. (2558). แนวทางนโยบายการพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 123 – 136.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน หน่วยที่ 10 สถิติวิเคราะห์เชิงปริมาณ: สถิติบรรยายและสถิติพาราเมตริก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทราวิจิตร มณีประเสริฐ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มุกดา คำอานา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์กับการพัฒนาตนเองของครูในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลัญบุรี.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2550). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2), 85 - 98.

ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ข้อมูลบุคลากรอุดมศึกษาภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.info.mua.go.th/info/

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563 จาก https://arit.kpru.ac.th/page_ id=209&lang=TH

สุเมธ แย้มนุ่น. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการบริหารงานอุดมศึกษาไทย. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2563 จาก file:///C:/Users/ADMINS~1/AppData/Local/Temp /downloadfile-1.pdf.

โสภณ เจริญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยเอกชน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสภาพร กล่ำสกุล. (2554). การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุษา สงนุ้ย. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของอาจารย์สถาบันการพลศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment Of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/25/2021

How to Cite

กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน ภ. ., แสนภักดี ว., & เคณาภูมิ ส. (2021). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 303–318. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/246624

ฉบับ

บท

บทความวิจัย