การพัฒนาชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สุพิน ใจแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรม, กรอบความคิดเติบโต, นักศึกษาคณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2) ศึกษาผลการเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมการเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 740 คน ได้มาจากผู้ที่มีผลการประเมินด้วยแบบวัดระดับกรอบความคิดเติบโต มาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ คะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 5 สมัครเข้าร่วมการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดกรอบความคิดเติบโต ชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต และแบบประเมินความพึงพอใจ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีประสิทธิภาพ 84.63/87.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คะแนนกรอบความคิดเติบโตของนักศึกษาหลังการใช้ชุดฝึกอบรม และคะแนนการติดตามผลหลังสิ้นสุดการอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนหลังการใช้ชุดฝึกอบรมและติดตามผลการใช้ชุดฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย      ( gif.latex?\bar{x} = 4.83, S.D. = 0.38) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพต่อการนำไปเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และสามารถนำไปใช้หรือศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ธนะดี สุริยะจันทร์หอม. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างโกรว์ธ มายด์เซต สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับอาสายุวกาชาด. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาชาการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2552). เทคนิคการฝึกอบรม. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิจิตรา ธงพานิช. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์วิจัยครั้งที่ 1 “การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 ”. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในนักศึกษาศตวรรษที่ 21. ใน งานประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์นักศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชั่น.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรณิชชา ทศตา. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่อง การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ เพื่อการวิจัยในการเสริมสร้างความสามารถของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครราชสีมา. ใน รายงานการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. วิทยาลัยนครราชสีมา.

Dweck, C. S. (1999). Self-theories: Their role in motivation, personality and development. Philadelphia: Psychology Press.

Dweck, C. S. (2006). Mindset : The New Psychology of Success. New York: Random House.

Dweck, C. S. (2007). Boosting Achievement with Messages that Motivate. Education Canada, 47(2), 6-10.

Dweck, C. S. (2008). Brainology transforming students’ motivation to learn. Independent school, 67(2), 110-119.

Esparza, J., Shumow, L. & Schmidt, J.A. (2014). Growth Mindset of Gifted Seventh Grade Students in Science. NCSSSMST Journal, 19(1), 6-13.

Henderlong, J. & Lepper, M. R. (2002). The Effects of Praise on Children's Intrinsic Motivation : a Review and Synthesis. Psychological bulletin, 128(5), 774-779.

Louis, T.P. (2018). The Mindset Classroom Blended Course. Retrieved April 30, 2018, from https://scholarworks.umb.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1036&context=instruction_capstone

Mangels, J.A. et al. (2006). Why Do Beliefs About Intelligence Influence Learning Success? A Social Cognitive Neuroscience Model. Social Cognitive and Affective Neuroscience, 1(2), 75-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2020

How to Cite

ใจแก้ว ส. . . (2020). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 348–360. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/246640