การประเมินผลโครงการพัฒนานักเรียนนายเรือ ตามนโยบายกองทัพเรือใสสะอาด ประจำปีการศึกษา 2561
คำสำคัญ:
การประเมินผลโครงการ, นักเรียนนายเรือ, กองทัพเรือ, โมเดลซิปป์บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงด์เพื่อประเมินผลโครงการและการดำเนินกิจกรรมโครงการนักเรียนนายเรือตามนโยบายกองทัพเรือใสสะอาดปี 2561 วิธีดำเนินการวิจัยโดยการติดตามและประเมินผลกิจกรรมของนักเรียนนายเรือ ชั้นปีที่ 2 รวมทั้งสิ้น 7 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการ “Navy Fit and Firm” 2) โครงการ “สร้างสุขสร้างใจ หัวใจพุทธศาสตร์” 3) โครงการ “Culture Music” 4) โครงการ “รักชาติรักมวยไทย” 5) โครงการ “Midshipman” 6) โครงการ “ค่ายร่วมแรงร่วมใจ” และ 7) โครงการ “นายเรือไอที” โดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์ CIPP Model ของดาเนียลแอลสตัฟเฟิลบีม (Daneil L. Stufflebeam) ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านสภาพแวดล้อม (Context) เพื่อพัฒนาจุดมุ่งหมายของโครงการ ด้านปัจจัยการนำเข้า (Input) เพื่อออกแบบโครงการด้านกระบวนการ (Process) เพื่อประเมินขั้นตอนในการดำเนินงานตามโครงการ และ ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกมาจากนักเรียนนายเรือที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 210 นาย เครื่องมือที่ใช้โดยการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผลจากการวิจัยพบว่าการดำเนินการในการจัดทำโครงการ ด้านสภาพแวดล้อม มีความสอดคล้องระหว่างนโยบายกับวัตถุประสงค์ และความต้องการความจำเป็นความคาดหวังไม่เกิดผลกระทบจากสังคม ด้านปัจจัยการนำเข้า ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ มีความเพียงพอ ด้านกระบวนการในการวางแผนการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์และการประเมินผล สามารถดำเนินการได้โดยไม่พบอุปสรรคข้อขัดข้องใด และ ด้านผลผลิต (Product) โครงการมีความก้าวหน้าในการดำเนินการ ตลอดจนพัฒนาการของนักเรียนนายเรือให้มีความสามารถในความเป็นผู้นำและพัฒนาชุมชนและสังคม ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติ ก่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียนนายเรืออย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ตลอดจนร่วมกับสถาบันภายในและภายนอกกองทัพ สอดคล้องตามนโยบายกองทัพเรือใสสะอาดปี 2561
References
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2557). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ.2556-2560). เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2561 จาก http://www.nacc.go.th/article_attact/image1543.pdf.
จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย (The Trend of Corruption in Thailand). เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2561 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1484
ดวงหทัย อินทะชัย. (2553). กระบวนการทุจริตคอร์รัปชั่นในการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ และคณะ. (2555). การวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการทุจริตเชิง นโยบาย (Research for Studying Forms of Policy Corruption). ใน รายงานวิจัย. คณะอนุกรรมการ ฝ่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.).
ปกรณ์ ประจัญบาน. (2553). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และคณะ. (2554). องค์ความรู้ว่าด้วยการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2561 จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2559-2560/PDF/wpa_8191
โรงเรียนนายเรือ. (2558). แผนยุทธศาสตร์โรงเรียนนายเรือ พ.ศ. 2558 - 2567). สมุทรปราการ: โรงเรียนนายเรือ.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2558). หลักสูตรคู่มือและแนวทางการสร้างเครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริต (โครงการข้าราชการไทยไร้ทุจริต กระทรวงยุติธรรม). เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2561 จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2559-2560/PDF/wpa_8191.
Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.