การประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเรือยอชท์ ในจังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
การประเมินศักยภาพ, การจัดการ, การท่องเที่ยวเรือยอชท์, ภูเก็ต, การวิเคราะห์ความสำคัญและผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเรือยอชท์ในจังหวัดภูเก็ตด้วยการวิเคราะห์ IPA (Importance Performance Analysis) เปรียบเทียบระดับความสำคัญและผลการดำเนินงาน โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้เช่าเรือยอชท์ และเจ้าของเรือยอชท์ที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน จาก 4 ท่าเรือของจังหวัดภูเก็ต และศึกษาปัจจัยหลัก 6 ด้าน ได้แก่ 1) ท่าเรือมารีน่า 2) โครงสร้างพื้นฐาน 3) สถานที่ท่องเที่ยว 4) ความปลอดภัย 5) ระเบียบพิธีการ และ 6) ระบบบริการจากตัวแปรย่อย 35 ตัวแปร ผลการประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเรือยอชท์ในจังหวัดภูเก็ต พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญปัจจัยทั้ง 6 ด้าน ในระดับมากที่สุด ในส่วนของผลการดำเนินงานของปัจจัยด้านความปลอดภัย ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านโครงสร้างพื้นฐาน นั้นอยู่ในระดับที่มีผลการดำเนินงานมากที่สุด ในขณะที่ด้านการบริการ ด้านท่าเรือมารีน่า และด้านระเบียบพิธีการ อยู่ในระดับมากเท่านั้น และผลของการวิเคราะห์ด้วย IPA พบว่า ปัจจัยที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเร่งด่วน 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านระเบียบพิธีการ ได้แก่ ระยะเวลาในการนำเรือเข้า การขออนุญาตนำเรือเข้า ขั้นตอนด่านศุลกากร การเข้าถึงบริการหน่วยงานเกี่ยวกับกฎระเบียบ การขอวีซ่าลูกเรือและเจ้าของเรือ และการขอวีซ่าเรือ และ 2) ด้านท่าเรือมารีน่า ได้แก่เรื่องศูนย์ซ่อมบำรุงเรือยอชท์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกบนท่าเรือ ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเรือยอชท์ ในจังหวัดภูเก็ต 3 แนวทางในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น คือ 1) ทำก่อนแล้วจะดีกว่า 2) เสริมความแข็งแกร่งสู้คู่แข่ง 3) ปิดช่องว่างอย่างมีส่วนร่วม
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพมหานคร: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต. (2559). บรรยายสรุปข้อมูลจังหวัดภูเก็ต. เรียกใช้เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563 จาก http://www.phuket.go.th/webpk/file_data/intropk /dataPK59.pdf
Beerli, A. & Martı́n, J. D. (2004). Tourists' characteristics and the perceived image of tourist destinations: a quantitative analysis-a case study of Lanzarote. Tourism management, 25(5), 623-636.
Blundel, R. & Thatcher, M. (2005). Contrasting local responses to globalization: the case of volume yacht manufacturing in Europe. Entrepreneurship & Regional Development, 17(6), 405-429.
Butowski, L. (2014). Maritime tourism space. Turyzm, 24(1), 51-57.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Haass, H. (2011). Marina management for super yachts and cruise vessels. Journal of coastal research, 2011(10061), 475-475.
Kotrlik, J. W. K. J. W. et al. (2001). Organizational research: Determining appropriate sample size in survey research appropriate sample sizein survey research. Information technology. learning, and performance journal, 19(1), 43-50.
Ladkin, A. (2002). Recent research--geographical space and yachting tourism, tourism education, environmental law and tourism as a development tool. The International Journal of Tourism Research, 4(1), 57-64.
Landré, M. (2009). Analyzing yachting patterns in the Biesbosch National Park using GIS technology. Technovation, 29(9), 602-610.
Lee, M. K. & Yoo, S. H. (2015). Public preference for the attributes of the marina port in Korea: a choice experiment study. Maritime Policy & Management, 42(5), 516-532.
Manigel, U. (2011). IMCI Blue Star Marina Certification-A Transparent System to Indicate the Quality Level of Marinas. Journal of coastal research, 61(61), 123-125.
Martilla, J. A. & James, J. C. (1977). Importance-performance analysis. Journal of marketing, 41(1), 77-79.
Sariisik, M. et al. (2011). How to manage yacht tourism in Turkey: A swot analysis and related strategies. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 24(2011), 1014-1025.
Shin, I. S. & Kim, B.-S. (2014). Development Smart Yacht Operational System and Marina Control System for Navigational Safety. International Journal of Information and Electronics Engineering, 4(1), 16-21.
Tourism Authority of Thailand. (2014). Study of ASEAN Tourism Market Year 2013. Retrieved November 22, 2020, from http://www.etatjournal.com/web/ menu-read-webetatjournal/menu-2014/menu-2014-apr-jun/590-22014-asean
Tourism Authority of Thailand. (2019). Tourist statistics. Retrieved November 22, 2020, from https:// intelligencecenter.tat.or.th/articles/11859
Yan, H. D. (2008). Taiwan's yacht industry: A tale of two entrepreneurial firms. Global Economic Review, 37(4), 469-486.
Yang, C. M. et al. (2014). Assessing Fishing Port Locations for Adaption into Yacht Marinas in Taiwan. Journal of Marine Science and Technology, 22(5), 612-624.